ARIT

Academic Resource and Information Technology. สำนักวิทยบริการเเละเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

“24 ศาสตร์พระราชา บนฉากบังเพลิง”

        การถ่ายทอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 24 โครงการ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นเรื่องราวจิตรกรรมลงบนฉากบังเพลิง ที่ใช้สำหรับกั้นลมในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 9 โดยแยกตามหมวด ดิน น้ำ ลม ไฟ ดังนี้

 

ด้านทิศตะวันออก หมวดดิน ประกอบด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 โครงการ ได้แก่

  ดินกรวด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
        ดินเป็นหิน กรวด และแห้งแล้ง : ต้องยึดดินและช่วยให้ชื้น
          ดินเป็นหิน กรวด มีลักษณะเดียวกับดินทราย หน้าดินถูกชะล้างเหลือแต่ หิน กรวด พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ พื้นที่ที่เป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ก็คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีการแก้ปัญหาด้วยฝายแม้วตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อกักเก็บน้ำและสร้างความชุ่มชื้นให้ผืนดินผืนป่า มีการปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดดิน ป้องกันการชะล้าง การพังทลายของหน้าดิน
          ผลจากการแก้ปัญหาพัฒนาดังกล่าว สามารถพลิกฟื้นให้ผืนป่าห้วยฮ่องไคร้ที่เคยเสื่อมโทรมกลับมาสมบูรณ์ กลายเป็นแหล่งต้นน้ำ ขณะที่ฝายแม้วในโครงการนี้ก็ได้กลายเป็นฝายต้นแบบให้กับหลายๆ พื้นที่

ฝายชะลอน้ำที่ห้วยฮ่องไคร้

ที่มา: www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9590000120169

 

  ดินเค็ม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน
        ดินเค็ม : ต้องล้างความเค็มออก
          เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้มีสภาพเป็นดินเค็ม เหตุเพราะน้ำทะเลท่วมถึง ทั้งยังมีสภาพปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่ป่าชายเลน ดินเค็ม คือดินที่มีเกลืออยู่ในดินเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริให้ใช้ระบบชลประทานในการล้างเกลือที่ผิวดิน ให้เกลือเจือจางจนสามารถใช้สอยได้

ดินเค็ม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน

ที่มา: https://m.mgronline.com/daily/detail/9590000122481
        www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9590000120169

 

 ดินทราย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน
        ดินทราย : ต้องเพิ่มกันชนให้ดิน
          ดินทราย มีลักษณะโปร่งน้ำ รากพืชผ่านไปได้ง่าย ในฤดูแล้งน้ำในดินจะไม่เพียงพอ ทำให้พืชที่ปลูกใหม่มักจะตาย เพราะดินร้อนและแห้งจัด ต้องแก้ด้วยการเพิ่มความชื้นและเพิ่มอินทรียวัตถุที่จะทำหน้าที่เสมือนกันชนให้แก่ดิน โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ถือเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาเรื่องดินทรายที่มีแร่ธาตุน้อย
          พระองค์ท่านจึงได้ให้แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหา ด้วยการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อนำน้ำไปใช้พัฒนาการเกษตร ชะลอการไหลของน้ำ เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับดินและฟื้นฟูสภาพป่าไม้ มีการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินที่มีธาตุอาหารสะสมอยู่ หลังจากดำเนินงานแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จากเดิมที่มีปัญหาเรื่องดินทราย เสื่อมโทรม ได้กลายมาเป็นพื้นที่สีเขียวสามารถปลูกพืชต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

ดินทราย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน

ที่มา: www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9590000120169

 

 ดินดานลูกรัง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย
        ดินดาน ดินแข็ง และดินลูกรัง : ต้องสร้างของดีซ้อนบนของเลว
          ดินดาน ดินแข็ง ดินลูกรัง เป็นดินเนื้อละเอียด ฤดูแล้งจะแห้งแข็ง แตกระแหง น้ำและอากาศผ่านเข้าได้ยาก รากไม้ยากที่จะชอนไชลงไปในใต้ดิน
          โครงการต้นแบบการแก้ปัญหาในเรื่องนี้คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี โดยแก้ปัญหาด้วย การสร้างอ่างเก็บน้ำตามลำน้ำหลัก ปรับปรุงดินโดยให้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ รวมถึงการปลูกหญ้าแฝกขวางแนวลาดเท เพื่อป้องกันดินถูกชะล้าง พังทลาย
          หลังการแก้ปัญหา ปัจจุบันศูนย์ศึกษาการห้วยทราย ที่เคยเป็นสภาพเสื่อมโทรมได้เปลี่ยนเป็นพื้นที่สีเขียวที่สามารถทำการเกษตรได้เป็นอย่างดี


หญ้าแฝกช่วยยึดดิน แก้ปัญหาหน้าดินถูกชะล้าง

ที่มา: www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9590000120169

 

 ดินพรุ หรือดินเปรี้ยว ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง
        ดินพรุ หรือ ดินเปรี้ยว : ต้องทำให้กินโกรธ โดยแกล้งดิน
          ดินพรุ เป็นพื้นดินที่มีสภาพน้ำขัง มีสภาพความเป็นกรดอย่างรุนแรง ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้การแก้ปัญหาในสภาพดินพรุ ดินเปรี้ยว
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงใช้พระอัจฉริยะภาพ คิดค้นวิธีการที่เรียกว่า “แกล้งดิน” ขึ้น โดยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อให้ดินปล่อยแร่ธาตุที่เป็นกรดออกมา กลายเป็นดินที่มีกรดจัด เปรี้ยวจัด จากนั้นจึงใช้น้ำชะล้างดินควบคู่ไปกับปูน ซึ่งทรงเรียกว่า “ระบบซักผ้า” เมื่อใช้น้ำจืด ชะล้างกรดในดินไปเรื่อยๆ ความเป็นกรดจะค่อยๆจางลง จนสามารถใช้เพาะปลูก ทำการเกษตรได้ ความสำเร็จที่เด่นชัดในการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ดินเป็นกรดจัด คือโครงการศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เมือง จ.นราธิวาส

โครงการแกล้งดินประสบความสำเร็จในศูนย์การศึกษาพัฒนาพิกุลทอง

ที่มา: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000104722

 

ด้านทิศเหนือ หมวดน้ำ ประกอบด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 โครงการ ได้แก่

  ฝนหลวงแก้ปัญหาความแห้งแล้ง ภาคอีสานโดยเลือกพื้นที่วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
        ฝนหลวง : หลักการแรก คือ ให้โปรยสารดูดซับความชื้น (เกลือทะเล) จากเครื่องบิน เพื่อดูดซับความชื้นในอากาศ แล้วใช้สารเย็นจัด (น้ำแข็งแห้ง) เพื่อให้ความชื้นกลั่นตัวและรวมตัวเป็นเมฆ
          โครงการฝนหลวง เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยาก ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำใช้เพื่ออุปโภคและ บริโภค รวมไปถึงการใช้ในทางเกษตรกรรม เนื่องมาจากสภาวะแห้งแล้ง ซึ่งพบได้บ่อยในฤดูหนาวและ ฤดูร้อน ซึ่งความแห้งแล้งนี้เกิดจากการคลาดเคลือนของฤดูตามธรรมชาติ  เช่น ฤดูฝนล่าช้าหรือหมดไวกว่าปกติ
          ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงศึกษาสภาพอากาศ ลักษณะต่างๆ รวมไปถึงภูมิประเทศของไทย ที่อยู่ในภูมิภาคเขตร้อน ทำให้อยู่ในอิทธิพลของมรสุมทวีปเอเซีย โดยเฉพาะมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นฤดูฝน  และเป็นฤดูเพราะปลูกประจำปีของประเทศไทย พระองค์จึงดำริคิดว่าจะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อให้เกิดฝนตกได้ นั้นเอง
          ดังนั้นตั้งแต่ พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า วิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ จนมั่นประทัย ก่อนที่จะพระราชทานแนวคิดนี้ให้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล หาลู่ทางทำให้เกิดการทดลองต่อไปบนท้องฟ้า จนกระทั่ง พ.ศ. 2512 พระทรวงเกษตรและสหกรณื ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว เพื่อสนับสนุนโครงการฝนหลวง อีกทั้งในปีเดียวกันนี้เอง ที่ได้มีการทดลองปฏิบัติจริงบนท้องฟ้าครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 1512 โดยเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรกใน ภารกิจโครงการฝนหลวง

ฝนหลวงแก้ปัญหาความแห้งแล้ง

ที่มา: https://sites.google.com/site/thekhnoloyisansnthes1/home/prawati-khwam-pen-ma-fn-hlwng

 

 ฝายต้นน้ำ เพื่อชะลอน้ำ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
        ฝายต้นน้ำ : สร้างฝายเก็บกักน้ำตามลำน้ำสาขาของห้วยฮ่องไคร้
          วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2527 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ตรวจเยี่ยมโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมความตอนหนึ่งว่า
          ...ควรพิจารณาสร้างฝายเก็บกักน้ำตามลำน้ำสาขาของห้วยฮ่องไคร้ โดยสร้างเป็นฝายแบบง่ายๆ เช่น ฝายหินทิ้งคลุมด้วยตาข่าย และฝายแบบชาวบ้าน โดยดำเนินการก่อสร้างเป็นช่วงๆ ทั้งในเขตพื้นที่พัฒนาป่าไม้ด้วยน้ำชลประทาน และพื้นที่พัฒนาป่าไม้ด้วยน้ำฝน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาป่าไม้ให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ต่อไป ควรเร่งการดำเนินงาน ปี พ.ศ. 2527 บางส่วน และภายในปีต่อๆไปตามความเหมาะสม...
          "…เป้าหมายหลักของโครงการฯ แห่งนี้คือ การฟื้นฟูและอนุรักษ์บริเวณต้นน้ำห้วยฮ่องไคร้ ซึ่งมีสภาพแห้งแล้งโดยเร่งด่วน โดยทดลองใช้วิธีการใหม่ เช่น วิธีการผันน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำ ในระดับบนลงไปตามแนวร่องน้ำต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ความชุ่มชื้นค่อย ๆ แผ่ขยายตัวออกไป สำหรับน้ำส่วนที่เหลือก็จะไหลลงอ่างเก็บน้ำในระดับต่ำลงไป เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรกรรมต่อไป ในการนี้ควรเริ่มปลูกป่าทดแทนตามแนวร่องน้ำ ซึ่งมีความชุ่มชื้นมากกว่าบริเวณสันเขา ซึ่งจะทำให้เห็นผลโดยเร็ว นอกจากนี้ยังเป็นการประหยัดกล้าไม้ และปลอดภัยจากไฟป่าด้วย เมื่อร่องน้ำดังกล่าวมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น ลำดับต่อไปก็ควรสร้างฝายต้นน้ำเป็นระยะ ๆ เพื่อค่อย ๆ เก็บกักน้ำไว้แล้วส่งต่อท่อไม้ไผ่ส่งน้ำออกทั้งสองฝั่งร่องน้ำ อันเป็นการช่วยแผ่ขยายแนวความชุ่มชื้อออกไปตลอดแนวร่องน้ำ…"

ฝายหินก่อ

ที่มา: www.tsdf.or.th/th/royally-initiated-projects/10776-ฝายต้นน้ำลำธาร-พศ-2521/

 

 อ่างเก็บน้ำเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
        อ่างเก็บน้ำเขาเต่า : ก่อสร้างทำนบดินปิดกั้นน้ำทะเล ไม่ให้ไหลลง สู่ทะเล
          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จเยือนประชาชนในเขตหัวหิน ทรงเห็นความลำบากของประชาชน ในหมู่บ้านเขาเต่าซึ่งมีประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่น แต่ขาดแคลนน้ำอุปโภค -บริโภค ช่วงน้ำทะเลขึ้นสามารถไหลเข้าท่วมพื้นที่เกษตรทุ่งตะกาด (ตะกาด เป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึง ที่ที่น้ำทะเลท่วมถึง เมื่อน้ำลง พื้นที่ตรงนั้นก็กลายเป็นเลน) ทำให้ผลผลิตเสียหาย ด้วยการที่ราษฎรได้รวมตัวกันน้อมเกล้าถวายที่ดินแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว จำนวน 300 ไร่ จึงมีพระราชดำริพร้อมมอบทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 60,000 บาทให้กรมชลประทานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่าเมื่อวันที่ 9 และ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งนับเป็นโครงการตามพระราชดำริแห่งแรกของกรมชลประทาน
          หมู่บ้านเขาเต่าจึงเป็นเสมือนโรงเรียนธรรมชาติแห่งแรก ที่ได้ทรงศึกษาปัญหาทั้งเรื่อง น้ำ และ ดินโดยทรงเริ่ม แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดของชาวบ้านที่นี่เป็นลำดับแรก อ่างเก็บน้ำเขาเต่าจึงเป็นโครงการก่อสร้าง ทำนบดินปิดกั้นน้ำทะเล ไม่ให้ไหลลง สู่ทะเล ทำให้เกิดเป็นอ่างเก็บน้ำสำหรับชาวบ้านได้ใช้ทั้งการ อุปโภค บริโภค เลี้ยงปลา รวมทั้งเพื่อการเพาะปลูกพืชอีกด้วย อ่างเก็บน้ำเขาเต่าแห่งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของพระราชดำริ เรื่องน้ำที่ทรงเห็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ว่าน้ำคือชีวิตของประชาชน

อ่างเก็บน้ำเขาเต่า

ที่มา: https://bitrmutrweb.wordpress.com/2016/11/12/สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ม-2/

 

 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ในช่วงเวลาที่ขาดแคลนน้ำ
        เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ : เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          สืบเนื่องจากปัญหาการเกิดน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักในฤดูน้ำหลากและขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน อันเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมถึงการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกด้วย จนกระทั่งวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้เปิดโครงการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก ภายหลังการศึกษาความเหมาะสม และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมแล้ว
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างกว่า 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 และทำพิธีปฐมฤกษ์กักเก็บน้ำเขื่อนในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จมาเป็นองค์ประธาน และในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานนามเขื่อนแห่งนี้ว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ "
          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงทำพิธีเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
         www.prd.go.th/ewt_news.php?nid=152368&filename=prd

 

 โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
        โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง : ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ
          ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ  ตั้งอยู่ในบ้านบางปี้ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช  เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนา พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  เพื่อช่วยเหลือบรรเทา ความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง และพื้นที่ใกล้เคียง ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเค็ม และปัญหา ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างครบวงจร
          "อุทกวิภาชประสิทธิ" เป็นนามพระราชทานที่เป็นมงคลยิ่ง มีความหมายถึง ความสามารถ แบ่งแยก น้ำจืด น้ำเค็ม ได้สำเร็จ นั่นคือ มีการบริหาร จัดการ อย่างสมดุล ปิดกั้นน้ำเค็มไม่ให้รุกเข้าไปในลำน้ำ กักเก็บน้ำจืดไว้ใช้ดำรงชีพซึ่งจะเป็นบท เริ่มต้นในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของผู้คน และเอื้ออำนวยให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำปากพนัง เป็นไปอย่างยั่งยืน
          โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา

ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ

ที่มา: www.paiduaykan.com/province/south/nakhonsithammarat/pakpanangproject.html

 

 กังหันน้ำชัยพัฒนา เครื่องกลเติมอากาศ บำบัดน้ำเสีย
        กังหันน้ำชัยพัฒนา : การเติมออกซิเจนในน้ำ
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น และทรงห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญในเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 ได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ โดยพระราชทานรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ กังหันน้ำชัยพัฒนา และนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามสถานที่ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาค 
          พระราชดำริเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรูปแบบและพระราชดำริ เรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย โดยการเติมออกซิเจนในน้ำ มีสาระสำคัญ คือ การเติมอากาศลงในน้ำเสีย มี 2 วิธี วิธีหนึ่ง ใช้อากาศอัดเข้าไปตามท่อเป่าลงไปใต้ผิวน้ำแบบกระจายฟองและอีกวิธีหนึ่ง น่าจะกระทำได้โดยกังหันวิดน้ำ วิดตักขึ้นไปบนผิวน้ำ แล้วปล่อยให้ตกลงไปยังผิวน้ำตามเดิม โดยที่กังหันน้ำดังกล่าวจะหมุนช้า ด้วยกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาดเล็กไม่เกิน 2 แรงม้า หรืออาจจะใช้พลังน้ำไหลก็ได้ จึงสมควรพิจารณาสร้างต้นแบบ แล้วนำไปติดตั้งทดลองใช้บำบัดน้ำเสียที่ภายในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และวัดบวรนิเวศวิหาร
          กรมชลประทานรับสนองพระราชดำริในการศึกษาและสร้างต้นแบบ โดยดัดแปลงเครื่องสูบน้ำพลังน้ำจาก "กังหันน้ำสูบน้ำทุ่นลอย" เปลี่ยนเป็น "กังหันน้ำชัยพัฒนา" และได้นำไปติดตั้งใช้ในกิจกรรมบำบัดน้ำเสียที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2532 และที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 เพื่อศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นระยะเวลา 4-5 ปี

กังหันน้ำชัยพัฒนา

ที่มา: www.chaipat.or.th/site_content/19-248/18-chaipattana-water-turbine-development.html

 

ทิศตะวันตก หมวดลม ประกอบด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 โครงการ ได้แก่

  กังหันลม โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ บ้านหนองคอไก่ จ.เพชรบุรี เพื่อการผันน้ำจากที่ต่ำชักน้ำขึ้นที่สูง
        กังหันลม : ผันน้ำจากที่ต่ำชักน้ำขึ้นที่สูง
          โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ เกิดขึ้นหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพบหัวมันเทศที่ชาวบ้านนำมาทูลเกล้าฯ ถวายแล้วแตกใบออกมาบนตาชั่งทั้งที่ไม่ได้ปลูกลงดินและไม่มีใครดูแล จึงมีรับสั่งให้นำหัวมันเทศนั้นไปปลูกใส่กระถางไว้ในวังไกลกังวล แล้วมีพระราชดำรัสให้จัดหาพื้นที่เพื่อทดลองปลูกมันเทศซึ่งเป็นพืชที่สามารถปลูกขึ้นได้ทุกที่ แม้ว่าจะวางทิ้งไว้บนตาชั่งก็ตาม
          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริให้สร้างทุ่งกังหันลมไว้ที่โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้ภายในโครงการและขายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสให้นำพลังงานลมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เนื่องจากบริเวณที่ตั้งโครงการมีลักษณะภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม จึงทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ติดตั้งกังหันลมจำนวน 10 ตัว ผลิตไฟฟ้าเพื่อเป็นต้นแบบ โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และบริษัท พระพายเทคโนโลยี ร่วมกันออกแบบติดตั้งกังหันลม และระบบจำหน่ายไฟฟ้า
          จากนั้นทั้งสองหน่วยงานได้ทำการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาด 5 กิโลวัตต์ เพิ่มเติมอีกจำนวน 10 ชุด รวมเป็นจำนวน 20 ชุด ส่งผลให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุด 100 กิโลวัตต์ ปัจจุบันกังหันลมแต่ละต้นสามารถผลิตกระเเสไฟฟ้าได้ 25 กิโลวัตต์ รวมแล้วในหนึ่งเดือนสามารถผลิตกระเเสไฟฟ้าได้ 1,500 กิโลวัตต์ นอกจากจะใช้กระแสไฟฟ้าในโครงการแล้ว ยังขายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคด้วย
          “พระองค์ท่านทรงมีพระราชดำริให้ปลูกป่าด้วยการใช้พลังงานลมมาใช้ในการสูบน้ำขึ้นไปบนภูเขา เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้น สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นไม้ กรมสนองพระราชดำริด้วยการนำกังหันลมไปติดไว้บนยอดเขา เมื่อกังหันหมุนก็จะทำให้เครื่องสูบน้ำทำงาน ดึงน้ำขึ้นไปให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน ต้นไม้ก็เจริญเติบโตได้คนที่ผ่านไปแถวนั้นจะเห็นกังหันเรียงกันอยู่”

ทุ่งกังหันลม ผลิตกระแสไฟฟ้าโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ

ที่มา: www.thaihealth.or.th/partnership/Content/33893-‘ลม’%20หายใจประชาชน.html
         http://energytimeonline.com/energy7/59f430598265d40001048847

 

 กังหันลม โครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริดอยม่อนล้าน จ.เชียงใหม่
        กังหันลม : ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม
          ดอยม่อนล้าน เป็นที่ตั้งของโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเพื่อให้ ชาวบ้านเข้ามามีส่วนในกิจกรรมต่างๆของสถานี บริเวณพระตำหนักที่ประทับมีดอกไม้เมืองหนาวสีสีนสวยงามนานาพันธุ์ให้ได้ ชื่นชมและถ่ายภาพ นอกจากนี้บนดอยม่อนล้าน ยังเป็นจุดติดตั้งกังหันลมเพื่อการผลิตไฟฟ้า ตามโครงการศึกษาศักยภาพการ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ม.แม่โจ้ จ.เชียงใหม่ ซึ่งถือเป็น 1 ใน 3 แหล่ง ที่มีความเหมาะสมในการติดตั้งกังหันลมซึ่งจะทำให้ชาวบ้านมีไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดใช้ได้ตลอด

กังหันลมผลิตไฟฟ้า สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริดอยม่อนล้าน

ที่มา: www.e-toyotaclub.net/site/Life-style-บทความไลฟ์สไตล์/Lifestyle-Detail/ID/4823

 

 กังหันลม โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลม
        กังหันลม : ใช้ในการวิดน้ำ เพื่อถ่ายเทน้ำของบ่อเลี้ยงปลานิล
          ในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา มีกังหันลมสูบน้ำจำนวน 2 เครื่อง ติดตั้งที่บริเวณด้านหน้าโครงการส่วนพระองค์ฯ และบริเวณโรงเพาะเห็ด ขนาดความสูง 18 เมตร ขนาดความกว้างของใบพัด 20 ฟุต จำนวนใบพัด 45 ใบ ปริมาณน้ำที่สูบได้ 2,000-24,000 ลิตรต่อชั่วโมง (ที่ความเร็วลม 4-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ท่อดูดและส่งน้ำมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว ปัจจุบันกังหันลมทั้ง 2 เครื่องใช้สูบน้ำจากคลองรอบพระตำหนักเข้ามาที่บ่อเลี้ยงปลานิลที่ด้านหน้าโครงการฯ และนำน้ำจากคลองมาใช้ในการอุปโภคที่บริเวณโรงเพาะเห็ด

กังหันลม ใช้ในการวิดน้ำเพื่อถ่ายเทน้ำของบ่อเลี้ยงปลานิล

ที่มา: www.eppo.go.th/index.php/th/eppo-intranet/item/10858

 

 กังหันลมสูบน้ำ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช เป็นที่มาของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์
        กังหันลมสูบน้ำ : ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยแหลมตะลุมพุก
          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ร.ส.พ. รถไฟ เครื่องบินของกองทัพอากาศ เรือของกองทัพเรือ รถยนต์ของหน่วยราชการ ทั้งหมดที่มีที่ช่วยได้ ระดมกันมาช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายเป็นการด่วน และเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้เกิด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานเงินบริจาค ให้นำไปบรรเทาทุกข์อย่างทั่วถึง แล้วยังมีเงินเหลืออยู่จึงทรงพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ ขอจดทะเบียนตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระรบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2506 โดยได้พระราชทานเงินจำนวน 3 ล้านบาท ให้เป็นทุนประเดิมของมูลนิธิฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที
          “ให้ไปให้ความอบอุ่น ไปช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยฉับพลัน ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลือมีกำลังใจที่จะปฏิบัติงานต่อไป”
          ชื่อของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ หมายความว่า “พระราชา ”และ “ประชาชน” อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน เป็นการแสดงน้ำพระทัยว่าทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมบริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศลและโดยเสด็จการปฏิบัติงานอยู่เสมอ

กังหันลมสูบน้ำ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช

ที่มา: www.sator4u.com/paper/2119

 

 บางกระเจ้า ปอดของกรุงเทพฯ
  พื้นที่บางกระเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เป็นพื้นที่สีเขียวและเป็นปอดของกรุงเทพฯ เนื่องจากลมมรสุมจากอ่าวไทยจะพัดเอาอากาศบริสุทธิ์ที่ผลิตจากพื้นที่แห่งนี้เข้าฟอกอากาศเสียในกรุงเทพฯ เป็นเวลากว่าปีละ 9 เดือน
          บางกระเจ้า ปอดของกรุงเทพฯ
          พื้นที่สีเขียวกระเพาะหมู หรือ พื้นที่สีเขียวบางกระเจ้า เป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ใกล้กรุงเทพมหานคร โดยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงเทพมหานคร ใน อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ประกอบด้วย พื้นที่ 6 ตำบล คือ ต.บางน้ำผึ้ง ต.บางยอ ต.บางกอบัว ต.บางกะสอบ ต.บางกะเจ้า และ ต.ทรงคะนอง มีเนื้อที่ประมาณ 11,819 ไร่ โดยคนทั่วไปจะรู้จักกันดีในชื่อ “พื้นที่สีเขียวบางกระเจ้า” ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องการเป็นปอดของคนกรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นพื้นที่สีเขียวที่สามารถเดินทางไปถึงได้ในเวลาเพียง 1 ชั่วโมงจากกรุงเทพมหานคร จนกระทั่งหนังสือ Time magazine ยังประกาศให้พื้นที่สีเขียวบางกะเจ้าเป็น “The best urban oasis of Asia” เมื่อปี ค.ศ.2006

บางกระเจ้า ปอดของกรุงเทพฯ

ที่มา: www.ku.ac.th/web2012/index.php?c=adms&m=selcon_eng&time=20131030075800

 

ทิศตะวันตก หมวดไฟ ประกอบด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 โครงการ ได้แก่

  สบู่ดำ ปลูกเพื่อสกัดน้ำมัน สามารถใช้แทนน้ำมันดีเซล ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน
        สบู่ดำ : ปลูกเพื่อสกัดน้ำมัน สามารถใช้แทนน้ำมันดีเซล
          เมื่อปี 2528 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรและทอดพระเนตรความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการนี้ มีพระราชดำริเกี่ยวกับการใช้พลังงานทดแทน โดยให้พิจารณาปลูกอ้อย มันสำปะหลัง เพื่อสกัดแอลกอฮอล์ผสมกับน้ำมันเบนซิน เรียกว่า แก๊สโซฮอล์ และปลูกสบู่ดำเพื่อสกัดน้ำมัน ซึ่งสามารถใช้แทนน้ำมันดีเซลได้ ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร ได้สนองพระราชดำริ โดยนำเมล็ดพันธุ์จากจังหวัดขอนแก่นมาปลูก จำนวน 400 ต้น ระยะห่าง 2 x 1 เมตร ใช้เวลา 5 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เฉลี่ย 70 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ซึ่งนับเป็นผลผลิตที่มีปริมาณน้อย จึงเลิกทดลองไป และได้มีการจัดทำแปลงปลูกสบู่ดำอีกครั้งเมื่อปี 2548 สำหรับการทดลองปลูกอ้อยและมันสำปะหลังเพื่อสกัดแอลกอฮอล์ ทดลองปลูกเพื่อให้ได้พันธุ์อ้อยและมันสำปะหลังที่เหมาะสมกับพื้นที่ และยังคงมีการปลูกสาธิตอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

สบู่ดำ ปลูกเพื่อสกัดน้ำมัน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน

ที่มา: www.rdpb-journal.in.th/2017/03/14/projectreview_2-2551/

  โรงงานผลิตไบโอดีเซล ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง
        โรงงานผลิตไบโอดีเซล : สกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์ม
          ในปี 2531 พระราชทานพระราชดำริให้จัดสร้างโรงงานสกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์มขนาดเล็กที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส อีกแห่ง โดยนำผลผลิตปาล์มน้ำมันมาสกัดเป็นน้ำมันปาล์มดิบและแปรรูปต่อเนื่องจนถึงขั้นบริโภค เน้นการสาธิตให้เกษตรกรมาศึกษาหาความรู้และเห็นประโยชน์ว่าปาล์มน้ำมันสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง และเมื่อเข้าใจแล้วจะได้นำไปปลูกในพื้นที่ของตนต่อไป
          ต่อมาในปี 2543 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริให้ทดลองน้ำมันปาล์มมาใช้กับเครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งศูนย์ฯ ได้เริ่มทำการทดลองใช้กับรถแทรกเตอร์ลากพ่วง และรถไถเดินตาม ปรากฏว่าประสบความสำเร็จ

โรงงานผลิตไบโอดีเซล ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง

ที่มา: http://welovethaiking.com/blog/ดูงานฟรี-ศูนย์ฯพิกุลทอง/

 เชื้อเพลิงอัดแท่ง แกลบอัดแท่ง โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
        เชื้อเพลิงอัดแท่ง แกลบอัดแท่ง : ทำเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจะช่วยอนุรักษ์ป่าไม้
          ปกติหลังการสีข้าว จะได้แกลบซึ่งอาจนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ ทำเป็นปุ๋ย และเชื้อเพลิงได้ตามความต้องการ โดยเฉพาะการใช้งานแกลบเป็นเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและสะดวกต่อการใช้งานนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ว่า ควรมีการนำแกลบมาใช้งานให้เป็นประโยชน์ทั้งทางด้านการทำเป็นปุ๋ยสำหรับปรับปรุงสภาพดินและทำเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจะช่วยอนุรักษ์ป่าไม้ได้อีกทางหนึ่งด้วย
          ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 จึงได้มีการทดลองนำแกลบมาอัดให้เป็นแท่งและแปรสภาพให้เป็นเชื้อเพลิงแท่ง เริ่มจากการนำแกลบที่ได้จากโรงสีข้าวตัวอย่างในสวนจิตรดามาทดลองใช้งาน โดยได้รับความร่วมมือในการวิจัยและค้นคว้าจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย แกลบที่ได้จากโรงสีข้าวตัวอย่างในสวนจิตรลดาจะถูกเลือกใช้เฉพาะส่วนที่มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 10 ขั้นตอนการผลิตเริ่มจากการขับแกลบให้ไหลผ่านสกรู แล้วจะมีเครื่องทำหน้าที่บดแกลบให้ละเอียดและทำให้แน่นผ่านกระบอก โดยกระบอกจะถูกเผาด้วยเศษแกลบอัดแท่งซึ่งมีความร้อนประมาณ 250-270 องศาเซลเซียสและเนื่องจากวัสดุแกลบประกอบด้วยสารเซลลูโลส ลิกนิน และคาร์โบไฮเดรต ดังนั้นเมื่อสารเซลลูโลสถูกความร้อนจากกระบอก สารเซลลูโลสจะหลอมละลายและเคลือบด้านนอกของแท่งแกลบให้แข็ง ทำให้แกลบเกาะกันเป็นแท่ง
          เมื่อต้องการนำถ่านแกลบไปใช้งาน จะต้องนำถ่านแกลบมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อสะดวกในการบรรจุใส่ถุงเพื่อจำหน่าย ประโยชน์ที่ได้จากการนำแกลบมาแปรสภาพเป็นถ่านแกลบจึงมีอยู่หลายด้าน ทั้งในแง่ของการ นำแกลบซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงแท่งใช้แทนถ่านไม้ได้คุ้มค่า ช่วยอนุรักษ์ป่าไม้ และไม่ทำลายสภาพสิ่งแวดล้อม

เชื้อเพลิงอัดแท่ง แกลบอัดแท่ง โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

ที่มา: www.eppo.go.th/index.php/en/component/k2/item/10858-news-240659 

 ก๊าซชีวภาพ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
        ก๊าซชีวภาพ : จากมูลโคนม
          พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริทดลองผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลโคนม โดยนำเศษวัสดุจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เศษพืช และมูลสัตว์มาหมักในถังหรือบ่อที่มี สภาพไร้อากาศในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อให้เกิดแก๊สชีวภาพ ซึ่งกว่าร้อยละ 50 โดยปริมาตร เป็นแก๊สมีเทนที่มี คุณสมบัติจุดติดไฟและให้ความร้อนได้ มีน้ำหนักเบากว่าอากาศและไม่มีกลิ่น ส่วนแก๊สที่เหลือ ประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และแก๊สอื่น ๆ อีกหลายชนิด ต่อจากนั้นนำแก๊สชีวภาพที่ได้จากการหมักมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการให้ความร้อนแก่ระบบการผลิตโรงงานแปรรูปผลผลิต ทางการเกษตร ภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เป็นการสร้างประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้และได้ พลังงานทดแทนแบบยั่งยืน เพื่อให้เกิดการทดแทนการใช้พลังงานจากฟอสซิล และเป็นแหล่งพลังงาน สำรองในคราวที่จะเกิดวิกฤติการณ์พลังงานขาดแคลนในอนาคตข้างหน้า

ก๊าซชีวภาพ จากมูลโคนม

ที่มา: www.tgcontrol.com/news/articles/ในหลวงกับพระอัจฉริยภาพe/

 พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ ผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์รับส่งสัญญาณดาวเทียม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
        พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ : ผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์รับส่งสัญญาณดาวเทียม

พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ ผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์รับส่งสัญญาณดาวเทียม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้

  กังหันน้ำผลิตไฟฟ้าที่ประตูน้ำคลองวัดโพธิ์
        กังหันน้ำ : ผลิตไฟฟ้าที่ประตูน้ำคลองวัดโพธิ์
          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชกระแสรับสั่งถามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องว่า
“โครงการคลองลัดโพธิ์จะทำประโยชน์ได้อย่างมหัศจรรย์ มีพลังงานมหาศาล จะใช้พลังงานน้ำที่ระบายผ่านคลองทำประโยชน์อย่างอื่นด้วยได้หรือไม่”
          จากพระราชกระแสรับสั่งถามดังกล่าว กรมชลประทานในฐานะผู้ดูแลโครงการดังกล่าว จึงได้ร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดตั้งกังหันน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าที่ประตูระบายน้ำ โดยใช้หลักพลังงานจลน์ของกระแสน้ำไหลเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งความเร็วของกระแสน้ำในคลองลัดโพธิ์เหมาะสมในการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำได้ คณะนักวิจัยได้ทำการออกแบบกังหันที่เหมาะกับคลองลัดโพธิ์ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพสูงสุด กังหันน้ำดังกล่าวถูกออกแบบมา ๒ แบบ สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าสูงสุดแบบละ ๕.๗๔ กิโลวัตต์ ช่วยลดค่าไฟฟ้าของประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ การทำงานของกังหันน้ำนั้น เริ่มจากการนำโครงเหล็กที่มีกังหันติดตั้งอยู่ใส่ไว้ที่ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์เมื่อกระแสน้ำไหลผ่านใบพัดจะเป็นต้นกำลังหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบแม่เหล็กถาวรที่บรรจุอยู่ภายในกล่องที่สามารถจมน้ำได้ เมื่อกังหันน้ำเริ่มทำงานจะได้กระแสไฟฟ้าสลับ จากนั้นจะใช้เครื่องแปลงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสตรงและทำการควบคุมแรงดันไฟฟ้า แล้วจึงจะส่งต่อเข้าระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงต่อไป

กังหันน้ำผลิตไฟฟ้าที่ประตูน้ำคลองวัดโพธิ์

ที่มา: http://www.xn--2-5wf2eljdmn4b6cn.com/knowledge-detail.php?id=122#sthash.htsuHW9S.dpbs

 

Designed and developed by : Suphawan Yamprayoon. Maintained by : Sangsan Kaewnor , Arit @CRU