ARIT

Academic Resource and Information Technology. สำนักวิทยบริการเเละเทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อมูลจังหวัดชัยนาท

คำขวัญ "หลวงปู่สุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา"
วิสัยทัศน์ “เมืองเกษตรมาตรฐาน ย่านท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
มุ่งสู่สิ่งแวดล้อมสมดุลและสังคมเป็นสุข”
ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การพัฒนาการผลิต การแปรรูป การตลาดและระบบดลจิสติกส์ สินค้าเกษตรมาตรฐาน
2. การเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และวิถีชีวิตชุมชน
3. การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ น้ำ สัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
4. การพัฒนาคุณภาพคนและเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางสังคม
ที่ตั้ง ละติจูด 15o-10’48’’
ลองติจูด 100o-7’48’’
พื้นที่ 2,469.746 ตร.กม. (1,543,591 ไร่)
ห่างจาก กทม. 195 กม.
เขตการปกครอง 8 อำเภอ 51 ตำบล 505 หมู่บ้าน
อบจ. 1 แห่ง อบต. 20 แห่ง
เทศบาลเมือง 1 แห่ง
เทศบาลตำบล 38 แห่ง
ประชากร 80,010 ครัวเรือน 329,875 คน
ชาย 158,781 คน (48.13%)
หญิง 171,094 คน (51.86%)
เศรษฐกิจ GPP 26,382 ล้านบาท
อาชีพหลัก เกษตรกรรม (ข้าว ส้มโอ ประมง)
การศึกษา สพฐ. 191 แห่ง ครู 2,107 คน นร. 32,423 คน
สช. 11 แห่ง ครู 181 คน นร. 4,002 คน
ท้องถิ่น 8 แห่ง ครู 201 คน นร. 3,238 คน
สอศ. 3 แห่ง ครู 147 คน นร. 4,184 คน
การศึกษาพิเศษ 2 แห่ง 57 คน 1,043 คน
กรมการศาสนา 1 แห่ง ครู 13 นร. 28 คน
มรภ.จันทรเกษม 1 แห่ง ครู 16 นร. 271 คน
ว.พยาบาล 1 แห่ง ครู 44 คน นร. 412 คน
กศน. 1 แห่ง ครู 113 คน นร. 5,504 คน
รวม 219 แห่ง ครู 2,879 คน นร. 51,105 คน
สาธารณะสุข รพ. 6 แห่ง
รพ.ชุมชน 11 แห่ง
รพ.ส่งเสริมสุขภาพ 72 แห่ง
ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าสงวนแห่งชาติเขาช่องลม เขาหลัก
ป่าสงวนแห่งชาติเขาราวเทียน
แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำน้อย
แม่น้ำท่าจีน (แม่น้ำมะขามเฒ่า)
แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ สวนนกชัยนาท
เขื่อนเจ้าพระยา
วัดธรรมามูลวรวิหาร
วัดปากคลองมะขามเฒ่า
งานขุนสรรค์
งานส้มโอชัยนาท
งานประเพณีกวนข้าวทิพย์
ผู้บริหาร ทีมงาน ผวจ. นายรณภพ เหลืองไพโรจน์
รอง ผวจ. นายชวพล พันธุมรัตน์
รอง ผวจ. นายปริญญา โพธิสัตย์
หน.สนง. นางศุภรินทร์ เสนาธง
ปลัดจังหวัด นายไพรัตน์ จันทร์ผลหอม


ประเด็นปัญหาและความต้องการพัฒนาที่จังหวัดสามารถร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ประเด็นการพัฒนา จังหวัดชัยนาท
ด้านเศรษฐกิจ

1. โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
(จำนวน 24 หมู่บ้าน)
   1.1 การออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว (เส้นทางท่องเที่ยว การแสดง อาหาร)
   1.2 การพัฒนาทักษะในการเป็นนักเล่าเรื่อง
   1.3 การจัดทำแผนธุรกิจการท่องเที่ยว
   1.4 การสร้างคุณลักษณะการเป็นเจ้าบ้านที่ดี
   1.5 การสร้างอัตลักษณ์ชุมชน (ตราสัญลักษณ์หมู่บ้าน บรรจุภัณฑ์)
   1.6 พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP (ประเภท C และประเภท D เพิ่มระดับขึ้น 1 ดาว)
2. การลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร
3. พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรสู่ความปลอดภัย
ด้านสังคม 1. สังคมสูงอายุ
ด้านสิ่งแวดล้อม 1. พัฒนาคุณภาพน้ำแม่น้ำท่าจีน
ด้านทำนุศิลปะ วัฒนธรรม -
ด้านการศึกษา 1. การขาดแคลนครู
2. ครูผู้สอนไม่ตรงตามรายวิชา
3. ผลคะแนน ONET ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
4. การพัฒนาเด็กเล็กและปฐมวัย


แนวทางการดำเนินการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ประเด็น แนวทาง จังหวัดชัยนาท
ด้านเศรษฐกิจ (ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม) โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี*
1. การออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว
    - เส้นทางท่องเที่ยว
    - การแสดงศิลปะ วัฒนธรรมพื้นถิ่น
    - สำรับอาหาร ของกินหมู่บ้าน
2. การพัฒนาทักษะในการเป็นนักเล่าเรื่อง
3. การจัดทำแผนธุรกิจการท่องเที่ยว
4. การสร้างคุณลักษณะการเป็นเจ้าบ้านที่ดี
5. การสร้างอัตลักษณ์ชุมชน
    - ตราสัญลักษณ์หมู่บ้าน
    - ภูมิทัศน์ สถาปัตยกรรม
6. พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP
    - พัฒนาผลิตภัณฑ์
    - พัฒนามาตรฐานการผลิต
    - ออกแบบบรรจุภัณฑ์
    - ช่องทางการตลาด
1. บ้านธรรมามูลใต้
2. บ้านดักคะนน
3. บ้านท่าหาด
4. บ้านหาดมะตูม
5. บ้านหางแขยง
6. บ้านอู่ตะเภา
7. บ้านหนองจิก
8. บ้านหนองน้อย
9. บ้านหนองบัว
10. บ้านบางกระเบื้อง
11. บ้านโพนางดำ
12. บ้านท่าไทร
13. บ้านดอนอรัญญิก
14. บ้านแพรกศรีราชา
15. บ้านวัดพระแก้ว
16. บ้านเชี่ยน
17. บ้านบุทางรถ
18. บ้านดอกซาก
19. บ้านกุดจอก
20. บ้านศรีพัฒนา
21. บ้านหนองไม้แก่น
22. บ้านหนองระกำ
23. บ้านทุ่ง หมู่ 9
24. บ้านทุ่ง หมู่ 14
ด้านสังคม** 1. การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง
2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย
-
ด้านสิ่งแวดล้อม

1. การจัดการขยะชุมชน
2. การลดการใช้ขยะพลาสติก
-
ด้านการศึกษา 1. พัฒนาครูศูนย์เด็กเล็ก
2. พัฒนาครูการศึกษาปฐมวัย
3. พัฒนาการสอนกลุ่มสาระวิชาเอก
4. พัฒนาทักษะการวิจัยทางการศึกษา
-
หมายเหตุ * เป้าหมายหมู่บ้านนวัตวิถีของจังหวัด
                ** ประเด็นด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา ยังไม่มีรายละเอียดของประเด็นปัญหาและกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน

 

ข้อมูลแนวทางการพัฒนา

          แนวทางทางการพัฒนาท้องถิ่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และการผลิตและพัฒนาครูของจังหวัดชัยนาทตามแผนพัฒนาจังหวัดชัยนาท 4 ปี (พ.ศ. 2560 – 2565) ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เพื่อหาแนวทางร่วมกันระหว่างจังหวัดชัยนาทและมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมในการพัฒนา ซึ่งจังหวัดชัยนาทขอให้ใช้แผนพัฒนาจังหวัดชัยนาท ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561 - 2564) ฉบับทบทวนประจำปี 2562 เป็นแนวทางหลักในการดำเนินการ โดยมุ่งเน้นประเด็นการพัฒนาท้องถิ่น การผลิตและพัฒนาครู การยกระดับคุณภาพการศึกษา


แนวทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
          ปัจจุบันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูล ได้มีพระราโชบายด้านการศึกษาให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญของตนในการลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนตามพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมรับผิดชอบพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดชัยนาท จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสิงห์บุรี โดยลักษณะโครงการและกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยเคยดำเนินงานที่จังหวัดชัยนาทเช่น โครงการครูพี่เลี้ยง โครงการยกระดับมาตรฐานการแปรรูปอาหารหมัก (ปลาร้า) ศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น ทั้งนี้ คณะผู้บริหารและทีมงานของมหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขาเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยร่วมกันพัฒนาจังหวัดชัยนาทได้ตามที่เห็นพ้องกันทั้งสองฝ่าย

ข้อมูลสารสนเทศและการดำเนินงานที่สำคัญของจังหวัดชัยนาท
          จังหวัดชัยนาทมีพื้นที่ จำนวน 2,469.746 ตารางกิโลเมตรส่วนมากมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม คิดเป็น ร้อยละ 99.06 ของพื้นที่ทั้งหมด แบ่งการปกครองเป็น 8 อำเภอ 51 ตำบล 505 หมู่บ้าน 40 เทศบาล และ 20 องค์การบริหารส่วนตำบล มีประชากรทั้งหมด 329,353 คน แบ่งเป็น เพศหญิง 170,766 คน เพศชาย 158,587 คน โดยประชากรส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 80.00 ของประชากรทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในปี 2558 มีมูลค่า 25,341 ล้านบาท โดยสาขาที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงสุดคือสาขาเกษตรกรรม จำนวน 6,004 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.69 และรายได้เฉลี่ยของประชากรจังหวัดชัยนาท คิดเป็น 81,072 บาทต่อคน/ปี
          ในส่วนด้านศักยภาพและสภาพปัญหาของจังหวัดชัยนาทสามารถสังเคราะห์ออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านการเกษตร จังหวัดชัยนาทมีทรัพยากรดินและน้ำอุดมสมบูรณ์และมีพื้นที่เกษตรกรรม 1,266,170 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่เกษตรกรรมในการปลูกข้าวมากที่สุด รองลงมาคือปลูกพืชไร่ และมีหน่วยงานด้านเกษตรจำนวน 30 หน่วยงาน สภาพปัญหาด้านการเกษตร เกิด จากเกษตรกรนิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยวทำให้คุณภาพของดินเสื่อมโทรม และการใช้น้ำขาดประสิทธิภาพไม่ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร นอกจากนี้ปัญหาด้านการตลาด คือ ต้นทุนในการผลิตสูง และราคาผลผลิตแปรปรวน รวมถึงขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัย 2) ด้านการท่องเที่ยว จังหวัดชัยนาทมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา สวนนกชัยนาท  วัดปากคลองมะขามเฒ่า วัดธรรมามูลวรวิหาร วัดมหาธาตุ  เป็นต้น สภาพปัญหาด้านการท่องเที่ยวคือ มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนน้อยไม่หลากหลาย การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวยังไม่ทั่วถึง 3) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดชัยนาทมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ มีมลพิษทางอากาศน้อยและไม่มีมลพิษทางเสียง สภาพปัญหาคือ มีพื้นที่ป่าจำนวนน้อย และปัญหาอุกภัยและภัยแล้งซ้ำซาก 4) ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ประชากรจังหวัดชัยนาทมีการดำรงชีวิตที่เรียบง่ายและมีความกลมกลืนกันในประเพณีและวัฒนธรรม มีแหล่งบันเทิงน้อยทำให้เกิดปัญหาทางอาชญากรรมและสังคมอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ปัญหาที่พบคือ คุณภาพการศึกษาของประชากรต่ำกว่ามาตรฐาน รายได้ประชากรเฉลี่ยต่อคนต่ำกว่ามาตรฐาน และประสบปัญหาด้านสุขภาพ
          โครงการและการดำเนินงานของจังหวัดชัยนาทได้ขับเคลื่อนตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน ซึ่งจังหวัดชัยนาท จะยึดถือประชาชนเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนสำคัญ ตัวอย่างโครงการสำคัญคือ โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี หรือเรียกว่าโครงการ “แอ่งเล็ก เช็คอิน”ในการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวชุมชน พัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์  OTOP ในชุมชน มีเป้าหมายในการสร้างรายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 – 20 ซึ่งปัจจุบันได้คัดเลือกหมู่บ้าน จำนวน 24 หมู่บ้าน ที่มีผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 3 -5 ดาว ร่วมดำเนินงานในโครงการดังกล่าว ภายใต้กรอบแนวคิด “ร่วมวิถี ร่วมสุข และร่วมสมัย”
          นายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ได้ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าจากการพิจารณาสาขาวิชาและความเชี่ยวชาญของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม พบว่ามีความสอดคล้องกับลักษณะพื้นที่และอาชีพของจังหวัดชัยนาท

แนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี จังหวัดชัยนาท
          ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันในการร่วมมือพัฒนาจังหวัดชัยนาท โดยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี บนพื้นฐานความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมจะได้จัดทำแผนการดำเนินงานตามศักยภาพและความพร้อมของมหาวิทยาลัยในการลงพื้นที่ชัยนาทให้ตรงกับความต้องการของจังหวัด โดยมีความน่าจะเป็นของโครงการและงานวิจัยตามแนวทางการพัฒนาจังหวัดชัยนาท ประกอบด้วย 3 ด้าน 1) ด้านการศึกษาและการพัฒนาคน โดยส่งเสริมและพัฒนาด้านการศึกษา ส่งเสริมการมีงานและพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพ ซึ่งจะจัดตั้งโครงการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา และอบรมพัฒนาด้านการประกอบอาชีพ เป็นต้น 2) ด้านเศรษฐกิจ จะส่งเสริมด้านการเกษตรและการท่องเที่ยว โดย การพัฒนาการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เป็นต้น ส่วนด้านการท่องเที่ยว จะพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดชัยนาทให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และศึกษาวิถีชีวิตชุมชนจังหวัดชัยนาท นอกจากนี้ยังพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น 3) ด้านสังคม จะสนับสนุนให้ประชาชนจังหวัดชัยนาทมีสุขภาพที่ดี

Designed and developed by : Suphawan Yamprayoon. Maintained by : Sangsan Kaewnor , Arit @CRU