Skip to content

ประวัติความเป็นมา

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

Home » ประวัติความเป็นมา

รู้จัก สำนักวิทยบริการฯ

      สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีพัฒนาการควบคู่กับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ซึ่งเดิมมหาวิทยาลัยมีสถานะเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม และยกฐานะเป็นวิทยาลัยครู สถาบันราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชภัฏตามลำดับ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยหน่วยงานย่อย 5 หน่วยงานคือ สำนักงานผู้อำนวยการ งานวิทยบริการ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานเทคโนโลยีการศึกษา และงานศูนย์ภาษา หน่วยงานต่าง ๆ เหล่านี้ก็มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ซึ่งสามารถแบ่งเป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้

imac-605421_1920
ipad-820272_1920
computer-767781
pen-926313_1920

ยุคหอสมุดวิทยาลัยครูจันทรเกษม

      ในอดีตโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม หรือวิทยาลัยครูจันทรเกษม มีหอสมุดตั้งอยู่ที่อาคาร 1 ชั้นล่าง ขนาด 1 ห้อง โดยมีอาจารย์ไข่มุกด์ มิลินทะเลข เป็นบรรณารักษ์ และมีผู้ช่วยบรรณารักษ์ 1 คนเมื่อ พ.ศ. 2511 มีผู้ใช้บริการห้องสมุดจำนวนมากจึงย้ายห้องสมุดไปบริเวณชั้นล่างของอาคาร 2 (อาคารศึกษาศาสตร์ปัจจุบัน) ซึ่งมีเนื้อที่กว้างขวางสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้มากขึ้น ทั้งนี้มีหมวดสังคมศึกษา หมวดการศึกษาและห้องทะเบียนรวมอยู่อาคารเดียวกัน

imac-605421_1920
ipad-820272_1920
computer-767781
pen-926313_1920

ยุคหอสมุดมานิจชุมสาย

ศูนย์คอมพิวเตอร์และแผนกหอสมุดได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องคู่ขนานกันไปดังนี้

แผนกห้องสมุด
  • ปี พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณจากกรมฝึกหัดครู สร้างอาคารหอสมุดเป็นอาคารเอกเทศ 2 ชั้นพื้นที่ใช้สอย 1,162 ตารางเมตรมีที่นั่งอ่านหนังสือประมาณ 300 ที่นั่ง และเปิดให้บริการ แก่นักศึกษา ครู อาจารย์ โดยมีอาจารย์ บรรณารักษ์บริหารงานรวม 7 คน
  • ปี พ.ศ. 2519 กระทรวงศึกษาธิการออกประกาศ เล่มที่ 93 ตอนที่ 82 ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2519 เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัยครูจันทรเกษมกรุงเทพมหานคร ให้แผนกหอสมุด สังกัดในสำนักงานอธิการบดีในขณะนั้นมีอาจารย์วนา ชีเพ็งพันธ์ เป็นหัวหน้าแผนกหอสมุด
  • ปี พ.ศ. 2525 มีการตั้งชื่ออาคารหอสมุดว่าหอสมุดมานิจชุมสาย โดยถือเอานามของ ม.ล. มานิจ ชุมสาย ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมซึ่งขณะนั้นมีผู้ช่วยศาสตราจารย์กุลรัศม์ ภูมิมาศ เป็นหัวหน้าแผนกหอสมุด
  • ปี พ.ศ. 2530 กระทรวงศึกษาธิการ ออกประกาศ เล่มที่ 104 ตอนที่ 73 ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2530 เรื่องการแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัยครูจันทรเกษมกรุงเทพมหานคร โดยการปรับเปลี่ยนให้ แผนก “หอสมุด” เป็น “ฝ่ายหอสมุด” สังกัดสำนักส่งเสริมวิชาการมีอาจารย์สุชีลา เตชาภิวัฒน์พันธ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายหอสมุด
ศูนย์คอมพิวเตอร์

      ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้เริ่มก่อตั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการงานทะเบียนและวัดผลในขณะนั้นมีอาจารย์วันชัยนิลกำแหง เป็นหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์คนแรกและได้เริ่มเปิดอบรมแก่บุคคลภายนอกในการใช้คอมพิวเตอร์และเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก และโปรแกรมดีเบส 2 โดยใช้เครื่อง APPLE

  • พ.ศ. 2525 วิทยาลัยครูจันทรเกษมในขณะนั้นได้รับงบประมาณให้จัดซื้อระบบงานทะเบียนและวัดผลเป็นเงิน 300,000 บาท และได้พัฒนาระบบงานทะเบียน โดยใช้โปรแกรมภาษาเบสิกบนเครื่องพีซี
  • พ.ศ. 2526 บริษัท ไอบีเอ็ม ร่วมกับมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลูประเทศคานาดาได้บริจาคระบบเครือข่าย LAN ขนาดเล็ก 1 ระบบ เพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัย และกรรมการฝึกหัดครูและในปีเดียวกันนั้นวิทยาลัยได้ตั้งภาควิชาคอมพิวเตอร์เพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงโดยมี อาจารย์วันชัย นิลกำแหงเป็นหัวหน้าภาควิชาคอมพิวเตอร์อีกตำแหน่งหนึ่งภาควิชาคอมพิวเตอร์จึงทำหน้าที่เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ อีกภาระงานหนึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา
  • พ.ศ. 2532 ฝ่ายทะเบียนและวัดผลในขณะนั้นได้พัฒนาระบบงานทะเบียนและประมวลผลขึ้นใหม่บนเครือข่ายโดยใช้มาตรฐานEthernet แบบบัสภายในอาคาร 4 และระบบ Arcnetระหว่างอาคารเป็นการแยกงานทะเบียนและวัดผลออกมาจากศูนย์คอมพิวเตอร์แต่บริการด้านงานทะเบียนเพียงอย่างเดียวภาคคอมพิวเตอร์ได้จัดการเรียนการสอนในหลายระดับและหลายหมู่เรียนทำให้มีภารกิจมากบทบาทในการบริการคอมพิวเตอร์แก่หน่วยงานต่าง ๆจึงลดลงและในที่สุดได้ยุติบทบาทของศูนย์คอมพิวเตอร์ลง
  • พ.ศ. 2538 อาจารย์อดุลย์ วงศ์แก้ว ได้ขอเชื่อมต่อบริการอินเตอร์เน็ตกับเครือข่ายไทยสารที่ความเร็ว 19.2 Kbps โดยใช้สายสื่อสารจากบริษัท Data net
  • พ.ศ. 2539 สถาบันได้อนุมัติงบประมาณให้เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไทยสารที่ความเร็ว 64 Kbpsและได้รับงบประมาณแผ่นดินให้จัดซื้อคอมพิวเตอร์แม่ข่าย 1 เครื่อง และลูกข่าย 1 เครื่องและได้ปรับปรุงห้อง 432 เป็นห้องบริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อเปิดบริการแก่อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา
  • พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณแผ่นดินให้จัดซื้อแม่ข่ายระบบยูนิกซ์ 1 ชุดและคอมพิวเตอร์ลูกข่ายอีก 40 เครื่องและเปิดบริการที่ห้อง 433 โดยให้บริการแก่อาจารย์เจ้าหน้าที่นักศึกษาและบริการหน่วยงานภายนอกที่ร้องขอ โดยอยู่ในความดูแลของ ผศ. คำเพชร ภูริปริญญา รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีและพัฒนาระบบสารสนเทศ
งานเทคโนโลยีการศึกษา

      ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้เริ่มก่อตั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการงานทะเบียนและวัดผลในขณะนั้นมีอาจารย์วันชัยนิลกำแหง เป็นหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์คนแรกและได้เริ่มเปิดอบรมแก่บุคคลภายนอกในการใช้คอมพิวเตอร์และเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก และโปรแกรมดีเบส 2 โดยใช้เครื่อง APPLE

imac-605421_1920
ipad-820272_1920
computer-767781
pen-926313_1920

ยุคสำนักวิทยบริการ

สำนักวิทยบริการ
  • ปี พ.ศ. 2541 ฝ่ายหอสมุดได้รับจัดสรรงบประมาณพร้อมรูปแบบอาคารจากสภาสถาบันราชภัฏเป็นอาคาร 8 ชั้นมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 4,800 ตารางเมตร ขณะนั้นมีนายสัตวแพทย์ปัญญา สระดอกบัว เป็นหัวหน้าฝ่ายหอสมุด
  • ปี พ.ศ. 2542 ฝ่ายหอสมุด เปลี่ยนสถานะเป็น “สำนักวิทยบริการ” และย้ายมาใช้พื้นที่บริการที่อาคาร 8 ชั้น นายสัตวแพทย์ปัญญา สระดอกบัว จึงเป็นผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการคนแรก
  • ปี พ.ศ. 2544 ขณะที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร ปาจรีย์รัตน์ เป็นผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏได้จัดสรรงบประมาณรายได้ วงเงิน 7,575,588 บาท เป็นค่าปรับแต่งภายในอาคารห้องสมุดให้มีสภาพสอดคล้องกับการใช้งาน ทันสมัย ทั้งนี้มีการดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน คือ จัดจ้างออกแบบ และจัดจ้างปรับปรุงตกแต่งในช่วงระหว่างการปรับตกแต่งภายในอาคารต้องย้ายส่วนทำงานทั้งหมดกับส่วนบริการบางส่วนกลับมาที่อาคารมานิจ ชุมสาย ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 การปรับตกแต่งภายในอาคารแล้วเสร็จก็ย้ายทั้งหมดกลับมาที่ อาคาร 8 ชั้น ดังเดิม
ศูนย์คอมพิวเตอร์

      ในปีเดียวกันนี้คือ พ.ศ. 2542 สถาบันแต่งตั้งอาจารย์อำนาจ สวัสดิ์นะที ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์ร่างหลักสูตร IT01 – IT06 พร้อมทั้งเอกสารประกอบเพื่อใช้ฝึกอบรมทักษะคอมพิวเตอร์ให้แก่นักศึกษาของสถาบันทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลามีนักศึกษาเข้าอบรมจำนวน 579 คนจัดหาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จำนวน 35 เครื่อง สถาบันได้ยกเลิกการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไทยสารและเชื่อมต่อกับบริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทยที่ความเร็ว 256 Kbps เมื่อ 9 มีนาคม พ.ศ. 2542 สถาบันเปิดให้บริการระบบ Dial – up Networking เป็นครั้งแรกซึ่งเป็นระบบที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้จากภายนอกสถาบันโดยมีหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้บริการจำนวน 95 หมายเลข เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 โดยในระยะแรกเปิดให้บริการเฉพาะบุคลากรของสถาบันเท่านั้น

  • พ.ศ. 2543 สถาบันแต่งตั้งให้ น.สพ.ปัญญา สระดอกบัว รักษาการแทนตำแหน่งหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์แทนอาจารย์อำนาจ สวัสดิ์นะที ที่หมดวาระในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 และมีการดำเนินการเช่าคู่สาย (Lease line) โดยเพิ่มความเร็วสูง Frame Relay 512 Kbps. พร้อมทั้งดำเนินการจัดโครงการฝึกอบรมทักษะคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาอย่างต่อเนื่องตามหลักสูตร IT01 – IT06 ต่อมาวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2543 สถาบันมีคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์เฉลิม ศรีสวรรค์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาระบบเครือข่ายความเร็วสูง (ครั้งแรก) ในการทำเป็นแบ็คโบน (Backbone) แกนหลักจำนวน 4 Core เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัทอินเตอร์เน็ต ประเทศไทย จาก 256 Kbps. เป็น 512 Kbps. เพื่อเชื่อมต่ออาคารต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย และได้จัดทำคำของบประมาณโครงการจากเงินค่าบำรุงการศึกษาจำนวน 17 ล้านบาท จึงได้ดำเนินการติดตั้งจนแล้วเสร็จ ทั้งยังได้ปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์โดยย้ายจากอาคาร 4 (อาคารอธิการบดีเดิม) ไปหอสมุดมานิจชุมสาย เพื่อติดตั้งระบบไฟฟ้าสำหรับคอมพิวเตอร์ 330 จุด และเฉลี่ยโหลด 3 เฟสเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 สถาบันมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานศูนย์คอมพิวเตอร์ชุดใหม่โดยมีอาจารย์เฉลิม ศรีสวรรค์ เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงานมีหน้าที่ หลักในการบริหารงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในด้านสนับสนุนการเรียนการสอน การฝึกอบรมการพัฒนาระบบเครือข่ายและงานอื่น ๆ ที่สถาบันมอบหมาย
  • พ.ศ. 2544 สถาบันฯ ได้เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทยจำกัด (มหาชน) จาก 512 Kbps. เป็น 1 Mbps. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ในส่วนงานศูนย์คอมพิวเตอร์ ได้ดำเนินการจัดหาคอมพิวเตอร์และครุภัณฑ์ พร้อมติดตั้ง โดยจัดทำโครงการเช่าคอมพิวเตอร์ 300 เครื่อง ในระยะเวลา 3 ปี แต่โครงการนี้ไม่สามารถดำเนินการได้
  • พ.ศ. 2545 สถาบันได้เชื่อมต่อ กับเครือข่ายพัฒนาการศึกษาทบวงมหาวิทยาลัย (UniNet) ที่ความเร็ว 256 Kbps. เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2545 และในเดือนสิงหาคม พ.ศ.  2545 สถาบันได้ขยายการเชื่อมต่อกับ UniNet ไปต่างประเทศที่ความเร็ว 1,024 Kbps. และเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 สถาบันได้ขยายการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัท อินเตอร์เน็ต ประเทศไทยจำกัด (มหาชน) ที่ความเร็ว 1.5 Mbps. ทำให้สถาบันมีเส้นทางเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต 2 เส้นทาง
งานเทคโนโลยีการศึกษา

      ในครั้งที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร ปาจรีย์รัตน์ เป็นผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ ได้มีการโอนงานโสตทัศนูปกรณ์ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสำนักวิทยบริการ โดยมีนายสัมพันธ์ รุ่งฤทธิ์ เป็นหัวหน้าฝ่าย

imac-605421_1920
ipad-820272_1920
computer-767781
pen-926313_1920

ยุคสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

งานวิทยบริการ
  • ปี พ.ศ. 2541 ฝ่ายหอสมุดได้รับจัดสรรงบประมาณพร้อมรูปแบบอาคารจากสภาสถาบันราชภัฏเป็นอาคาร 8 ชั้นมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 4,800 ตารางเมตร ขณะนั้นมีนายสัตวแพทย์ปัญญา สระดอกบัว เป็นหัวหน้าฝ่ายหอสมุด
  • ปี พ.ศ. 2542 ฝ่ายหอสมุด เปลี่ยนสถานะเป็น “สำนักวิทยบริการ” และย้ายมาใช้พื้นที่บริการที่อาคาร 8 ชั้น นายสัตวแพทย์ปัญญา สระดอกบัวจึงเป็นผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการคนแรก
  • ปี พ.ศ. 2544 ขณะที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร ปาจรีย์รัตน์ เป็นผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏได้จัดสรรงบประมาณรายได้ วงเงิน 7,575,588 บาท เป็น ค่าปรับแต่งภายในอาคารห้องสมุดให้มีสภาพสอดคล้องกับการใช้งาน ทันสมัย ทั้งนี้มีการดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน คือ จัดจ้างออกแบบ และจัดจ้างปรับปรุงตกแต่งในช่วงระหว่างการปรับตกแต่งภายในอาคารต้องย้ายส่วนทำงานทั้งหมดกับส่วนบริการบางส่วนกลับมาที่อาคารมานิจ ชุมสาย ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 การปรับตกแต่งภายในอาคารแล้วเสร็จก็ย้ายทั้งหมดกลับมาที่ อาคาร 8 ชั้น ดังเดิม
  • ปี พ.ศ. 2560 สำนักวิทยบริการฯได้รับงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 1,361,840 บาท เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมห้องอาเซียนศึกษา กล่าวคือมีการปรับปรุงซ่อมแซมภายในห้อง เพิ่มไฟส่องสว่าง และซ่อมแซมสื่อจัดแสดงต่างๆ เช่น ผนัง Asean big wall ซ่อมเกมจับคู่ ซ่อมเสาอาเซียน ซ่อมสติ๊กเกอร์พื้น รวมถึงจัดซื้อภาพอัดกรอบ ชั้นวางหนังสือ ป้ายห้องอะคริลิก สติ๊กเกอร์ PVC และชุดนิทรรศการเคลื่อนที่ กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม
  • ปี พ.ศ. 2561 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เปลี่ยนระบบห้องสมุดจากเดิมได้ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดร่วมกับแถบแม่เหล็กในการยืม/คืนทรัพยากรสารสนเทศ การป้องกันการโจรกรรมทรัพยากร การตรวจสอบสถานะของทรัพยากรทั้งหมด มาเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุแบบ RFID มาใช้เพื่อความรวดเร็วในการให้บริการ เพื่อให้ห้องสมุดมีความทันสมัยมากขึ้น โดยสำนักวิทยบริการฯได้รับงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 3,700,000 บาท เพื่อจัดหาชุดครุภัณฑ์ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ RFID ประกอบด้วย เครื่องยืมคืนอัตโนมัติ, อุปกรณ์ยืมคืนอัตโนมัติ, อุปกรณ์ลงรหัสข้อมูลประตูป้องกันทรัพยากรห้องสมุดสูญหายด้วยเทคโนโลยีคลื่นวิทยุ, เครื่องคืนหนังสืออัตโนมัติ, ประตูควบคุมบุคคลเข้า/ออก, เครื่องแม่ข่ายสำหรับระบบ RFID, ซอฟต์แวร์เชื่อมต่อระบบห้องสมุด ซึ่งติดตั้งแล้วเสร็จในเดือนเมษายน พ.ศ. 2561
งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

      ในปีเดียวกันนี้คือ พ.ศ. 2542 สถาบันแต่งตั้ง อาจารย์อำนาจสวัสดิ์นะทีให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์ร่างหลักสูตร IT01 – IT06 พร้อมทั้งเอกสารประกอบเพื่อใช้ฝึกอบรมทักษะคอมพิวเตอร์ให้แก่นักศึกษาของสถาบันทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลามีนักศึกษาเข้าอบรมจำนวน 579 คนจัดหาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จำนวน 35 เครื่อง สถาบันได้ยกเลิกการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไทยสารและเชื่อมต่อกับบริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทยที่ความเร็ว 256 Kbps เมื่อ 9 มีนาคม พ.ศ. 2542 สถาบันเปิดให้บริการระบบ Dial – up Networking เป็นครั้งแรกซึ่งเป็นระบบที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้จากภายนอกสถาบันโดยมีหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้บริการจำนวน 95 หมายเลข เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 โดยในระยะแรกเปิดให้บริการเฉพาะบุคลากรของสถาบันเท่านั้น

  • พ.ศ. 2543 สถาบันแต่งตั้งให้ น.สพ.ปัญญา สระดอกบัว รักษาการแทนตำแหน่งหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์แทนอาจารย์อำนาจ สวัสดิ์นะที ที่หมดวาระในวันที่ 6 กรกฎาคม 2543 และมีการดำเนินการเช่าคู่สาย (Lease line) โดยเพิ่มความเร็วสูง Frame Relay 512 Kbps. พร้อมทั้งดำเนินการจัดโครงการฝึกอบรมทักษะคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาอย่างต่อเนื่องตามหลักสูตร IT01 – IT06 ต่อมาวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2543 สถาบันมีคำสั่งแต่งตั้ง อาจารย์เฉลิม ศรีสวรรค์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาระบบเครือข่ายความเร็วสูง (ครั้งแรก) ในการทำเป็นแบ็คโบน (Backbone) แกนหลักจำนวน 4 Core เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัทอินเตอร์เน็ต ประเทศไทยจาก 256 Kbps. เป็น 512 Kbps. เพื่อเชื่อมต่ออาคารต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย และได้จัดทำคำของบประมาณโครงการจากเงินค่าบำรุงการศึกษาจำนวน 17 ล้านบาท จึงได้ดำเนินการติดตั้งจนแล้วเสร็จ ทั้งยังได้ปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์โดยย้ายจากอาคาร 4 (อาคารอธิการบดีเดิม) ไปหอสมุดมานิจชุมสาย เพื่อติดตั้งระบบไฟฟ้าสำหรับคอมพิวเตอร์ 330 จุด และเฉลี่ยโหลด 3 เฟสเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สถาบันมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานศูนย์คอมพิวเตอร์ชุดใหม่โดยมีอาจารย์เฉลิม ศรีสวรรค์ เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงานมีหน้าที่ หลักในการบริหารงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในด้านสนับสนุนการเรียนการสอน การฝึกอบรมการพัฒนาระบบเครือข่ายและงานอื่น ๆ ที่สถาบันมอบหมาย
  • พ.ศ. 2544 สถาบันฯ ได้เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทยจำกัด (มหาชน)จาก 512 Kbps. เป็น 1 Mbps. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ในส่วนงานศูนย์คอมพิวเตอร์ ได้ดำเนินการจัดหาคอมพิวเตอร์และครุภัณฑ์ พร้อมติดตั้ง โดยจัดทำโครงการเช่าคอมพิวเตอร์ 300 เครื่อง ในระยะเวลา 3 ปี แต่โครงการนี้ไม่สามารถดำเนินการได้
  • พ.ศ. 2545 สถาบันได้เชื่อมต่อ กับเครือข่ายพัฒนาการศึกษาทบวงมหาวิทยาลัย (UniNet) ที่ความเร็ว 256 Kbps. เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2545 และในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545 สถาบันได้ขยายการเชื่อมต่อกับUniNetไปต่างประเทศที่ความเร็ว 1,024 Kbps. และเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 สถาบันได้ขยายการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัท อินเตอร์เน็ต ประเทศไทยจำกัด (มหาชน) ที่ความเร็ว 1.5 Mbps. ทำให้สถาบันมีเส้นทางเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต 2 เส้นทาง
  • พ.ศ. 2560 พัฒนาระบบส่งแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี ด้วยระบบออนไลน์ e-budgeting จ้างปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางภาษา 4 ห้อง พัฒนาสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน 90 ตอน ปรับปรุงเพิ่มจำนวนเครื่องอีก จำนวน 100 เครื่อง
งานเทคโนโลยีการศึกษา
  • ปี พ.ศ. 2556 ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษาขึ้นตรงกับผู้อำนวยการสำนักฯ และมีการแบ่งส่วนงานเป็น 3 ส่วน ดังนี้
    – งานบริการห้องเรียนรวม
    – งานระบบเคเบิ้ลทีวี/โทรทัศน์
    – งานเครื่องเสียงและห้องประชุม
  • ปี พ.ศ. 2557 มีการเปลี่ยนพัฒนาระบบจากจอแก้วเป็นระบบ LED จำนวน 15 จุดบริการ
งานศูนย์ภาษา
  • ปี พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยได้โอนหน่วยงานศูนย์ภาษาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 อาคาร 29