• Computer Laboratory

  • Network System

  • Service Mind

  • Data Center

Copyright 2025 - งานเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้เริ่มก่อตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการงานทะเบียนและวัดผลในขณะนั้นมีอาจารย์วันชัย นิลกำแหง เป็นหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์คนแรกและได้เริ่มเปิดอบรมแก่บุคคลภายนอก ในการใช้คอมพิวเตอร์และเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก และโปรแกรมดีเบส ๒ โดยใช้เครื่อง APPLE 


พ.ศ. ๒๕๒๕ วิทยาลัยครูจันทรเกษมในขณะนั้นได้รับงบประมาณให้จัดซื้อระบบงานทะเบียนและ
วัดผลเป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท และได้พัฒนาระบบงานทะเบียน โดยใช้โปรแกรมภาษาเบสิกบนเครื่องพีซี 


พ.ศ. ๒๕๒๖ บริษัท ไอบีเอ็ม ร่วมกับมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู ประเทศแคนนาดาได้บริจาคระบบเครือข่าย
LAN ขนาดเล็ก ๑ ระบบเพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัยและกรรมการฝึกหัดครูและในปีเดียวกัน
วิทยาลัยได้รับตั้งภาควิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในระดับประกาศนียบัตร
ชั้นสูง โดยมีอาจารย์วันชัย นิลกำแหง เป็นหัวหน้าภาควิชาคอมพิวเตอร์ อีกตำแหน่งหนึ่ง ภาควิชา 
คอมพิวเตอร์จึงทำหน้าที่เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ อีกภาระงานหนึ่งตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นมา


พ.ศ. ๒๕๓๒ ฝ่ายทะเบียนและวัดผลในขณะนั้นได้พัฒนาระบบงานทะเบียนและประมวลผลขึ้นใหม่บนเครือข่ายโดยใช้มาตรฐาน Ethernet แบบบัสภายในอาคาร ๔ และระบบ Arcnet ระหว่างอาคารเป็นการแยกงานทะเบียนและวัดผลออกมาจากศูนย์คอมพิวเตอร์ แต่บริการด้านงานทะเบียนเพียงอย่างเดียวภาคคอมพิวเตอร์ได้จัดการเรียนการสอนในหลายระดับ และหลายหมู่เรียนทำให้มีภาระกิจมาก บทบาทในการบริการคอมพิวเตอร์แก่หน่วยงานต่าง ๆ จึงลดลงและในที่สุดได้ ยุติบทบาทของศูนย์คอมพิวเตอร์ลง


พ.ศ. ๒๕๓๘ อาจารย์อดุลย์ วงศ์แก้ว ได้ขอเชื่อมต่อบริการอินเตอร์เน็ตกับเครือข่ายไทยสารที่ความเร็ว ๑๙.๒ Kbps
โดยใช้สายสื่อสารจากบริษัท Data net


พ.ศ. ๒๕๓๙ สถาบันได้อนุมัติงบประมาณให้เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไทยสาร
ที่ความเร็ว ๖๔ Kbps และได้รับงบประมาณแผ่นดินให้จัดซื้อคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ๑ เครื่องและลูกข่าย ๑ เครื่อง และได้ปรับปรุงห้อง ๔๓๒ เป็นห้องบริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจ้างเจ้าหน้าที่ดูแลศูนย์คอมพิวเตอร์ในอัตราวุฒิ อนุปริญญา ได้ ๑ คน เพื่อเปิดบริการแก่อาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษาใช้บริการอินเตอร์เน็ต


พ.ศ. ๒๕๔๐ ผศ. คำเพชร ภูริปริญญา ดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีและพัฒนา
ระบบสารสนเทศดูแลงานของศูนย์คอมพิวเตอร์สถาบันฯและได้รับงบประมาณแผ่นดิน ให้จัดซื้อแม่ข่าย
ระบบยูนิกซ์ ๑ ชุด และคอมพิวเตอร์ลูกข่ายอีก ๔๐ เครื่อง และเปิดบริการอีก ๑ ห้อง ส่วนห้อง ๔๓๓ ได้รับ
อัตราเจ้าหน้าที่วุฒิปริญญาตรี ๑ อัตรา อนุปริญญา ๒ อัตรา เพื่อให้บริการฝึกอบรมแก่อาจารย์บริการหน่วย
งานภายนอกที่ร้องขอ รวมทั้งบริการอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา


พ.ศ. ๒๕๔๒ ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้รับอนุมัติอัตรากำลังเพิ่มตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ระดับ
ปริญญาตรี ๖ อัตรา ตำแหน่งพนักงานธุรการ ๑ ตำแหน่ง ระดับอนุปริญญาสำหรับตำแหน่งนักวิชาการ
คอมพิวเตอร์ จำนวน ๕ อัตรา เพื่อไปประจำศูนย์คอมพิวเตอร์ของแต่ละคณะทำหน้าที่ดูแลงาน
คอมพิวเตอร์และร่วมกันในการจัดทำเอกสารประกอบฝึกอบรมทักษะคอมพิวเตอร์ หลักสูตร IT๐๑ - IT๐๖
ใช้เวลาอบรม ๓๖ ชั่วโมง เพื่อใช้ในการอบรมแก่นักศึกษาทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลาและสถาบันฯ
มีคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์อำนาจ สวัสดิ์นะที ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์


๘ มีนาคม ๒๕๔๒ ศูนย์คอมพิวเตอร์เริ่มให้การฝึกอบรมแก่นักศึกษา ตามโครงการฝึกอบรมทักษะ
คอมพิวเตอร์ หลักสูตร IT๐๑ - IT๐๖ เป็นรุ่นแรก มีนักศึกษาเข้าโครงการจำนวน ๕๗๙ คน แบ่งเป็น
นักศึกษาภาคปกติ ๕๐๐ คน ภาคสมทบ ๗๙ คน มีนักศึกษาที่ผ่านการอบรมและได้รับวุฒิบัตรจำนวน
๓๓๗ คน ซึ่งศูนย์คอมพิวเตอร์ได้ให้การอบรมแก่นักศึกษาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันรวม ๖ รุ่น และกำลัง
ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรใหม่ ๆ ต่อไป


๙ กันยายน ๒๕๔๒ สถาบันฯได้ยกเลิกการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไทยสาร และเริ่มทำการเชื่อม
ต่อกับบริษัทอินเตอร์เน็ต ประเทศไทยที่ความเร็ว ๒๕๖ Kbps รศ.ดร. ทองคูณ หงษ์พันธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่ง
เลขาธิการสภาสถาบันราชภัฏ ในขณะนั้น พร้อมอธิการบดี สถาบันราชภัฏจันทรเกษม ให้เกียรติมาเป็น
ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ


๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ สถาบันฯเปิดให้บริการระบบ Dial-Up Networking เป็นครั้งแรก
ซึ่งเป็นระบบที่สามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากที่บ้านหรือจากภายนอก โดยมีหมายเลขโทรศัพท์
ที่ให้บริการจำนวน ๙๙ หมายเลข โดยในระยะแรกเปิดให้บริการเฉพาะบุคลากรของสถาบันฯเท่านั้น
และเตรียมการจะขยายการให้บริการแก่นักศึกษาในอนาคต


๖ กรกฎาคม ๒๕๔๓ สถาบันฯมีคำสั่งแต่งตั้งให้ น.สพ. ปัญญา สระดอกบัว รักษาการหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์แทนอาจารย์อำนาจ สวัสดิ์นะที ที่หมดวาระ


๓๐ กันยายน ๒๕๔๓ สถาบันฯมีคำสั่งแต่งตั้งให้อาจารย์เฉลิม ศรีสวรรค์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์


๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ สถาบันฯ เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัท อินเตอร์เน็ต ประเทศไทย จาก ๒๕๖ Kbps. เป็น ๕๑๒ Kbps.


๑ ธันวาคม ๒๕๔๓ สถาบันฯมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานศูนย์คอมพิวเตอร์ชุดใหม่โดยมีอาจารย์เฉลิม ศรีสวรรค์ เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่หลักในการบริหารงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในด้านสนับสนุนการเรียนการสอน การฝึกอบรมการพัฒนาระบบเครือข่าย และงานอื่น ๆ ที่สถาบันฯมอบหมาย


๒๕ กันยายน ๒๕๔๔ สถาบันฯ เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทย จาก ๕๑๒ Kbps. เป็น ๑ Mbps. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริการ และรองรับการให้ บริการ Dial-Up Networking แบบดิจิตอล ๑๒๐ คู่สาย

๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๕ สถาบันฯ เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับทบวงมหาวิทยาลัยที่ความเร็ว ๒ Mbps. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริการควบคู่กับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัท อินเตอร์เน็ต ประเทศไทยที่ความเร็ว ๑ Mbps. เพื่อใช้เป็นช่องทางในการให้บริการอินเตอร์เน็ตด้วยแหล่งข้อมูลอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง

๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕ สถาบันฯได้มอบหมายให้ศูนย์คอมพิวเตอร์ดำเนินการจัดทำการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E – learning) และทำการอบรมอบรม เพื่อขยายผลให้แก่อาจารย์เพื่อเป็นต้นแบบในการเรียนการสอนออนไลน์ต่อไป กันยายน ๒๕๔๕ ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ ในการจัดทำการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E - learning) โดยได้ใช้ชื่อว่า Chandra on Line เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในรูปแบบการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ สถาบันฯ เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต กับบริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทย ที่ความเร็ว ๑.๕ Mbps. เพื่อขยายช่องทางให้การติดต่อสื่อสาร และการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศเป็นไปด้วยความรวดเร็ว สะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้น

๔ ธันวาคม ๒๕๔๕ ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อแจกจ่ายให้กับนักศึกษาได้ใช้คอมพิวเตอร์จากบ้านติดต่อทางโทรศัพท์จากบ้านมายังสถาบันฯ(Dial- up) เพื่อให้บริการและลดการใช้ช่องสัญญาณของทางสถาบันฯธันวาคม ๒๕๔๕ นายเฉลิม ศรีสวรรค์ พร้อมทั้งคณะกรรมการดำเนินงานและเจ้าหน้าที่ได้จัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (๒๕๔๗ - ๒๕๔๙) เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของมหาวิทยาลัย ให้ดำเนินการไปในทิศทางที่แน่นอน ต่อเนื่องไม่ซ้ำซ้อนกัน ธันวาคม ๒๕๔๕ สถาบัน ฯ ได้รับบริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ IBM-AS 400 model 320 และ IBM-RISC 6000 model 98 B จาก บริษัทยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัทซิสเต็มดอทคอม ที่ได้บริจาคจอภาพ (monitor) สำหรับทั้งสองระบบ

๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ศูนย์คอมพิวเตอร์เปลี่ยนเป็นสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามร่างโครงสร้างมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สถาบันฯ มีคำสั่งแต่งตั้งให้ นายเฉลิม ศรีสวรรค์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

๑๐ มีนาคม ๒๕๔๖ นายเฉลิม ศรีสวรรค์ได้ทำหนังสือขออนุญาตใช้อาคารหอสมุดมานิจชุมสายเป็นสำนักงานเพื่อรองรับการขยายตัวทางด้าน ICT ต่อไป กันยายน ๒๕๔๖ สถาบันฯมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชวลิต บูรพาศริวัฒน์ รองอธิการบดี ฝ่ายวางแผนและพัฒนา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ 

๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๖ สถาบันฯมีคำสั่งแต่งตั้งให้นายสงกรานต์ สุขเกษม รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

๑๕ - ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ย้ายที่ทำการจากอาคาร ๔ ชั้น ๓ ไปยังอาคารหอสมุดมานิจชุมสาย

๑ มีนาคม ๒๕๔๗ สถาบันฯ มีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไสว ฟักขาว ผู้ช่วยอธิการบดี
รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

f t g