จดหมายเหตุสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประวัติความเป็นมา

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีพัฒนาการควบคู่กับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ซึ่งเดิมมหาวิทยาลัยมีสถานะเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม และยกฐานะเป็นวิทยาลัยครู สถาบันราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชภัฏตามลำดับ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยหน่วยงานย่อย 5 หน่วยงานคือ สำนักงานผู้อำนวยการ งานวิทยบริการ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานเทคโนโลยีการศึกษา และงานศูนย์ภาษา หน่วยงานต่าง ๆ เหล่านี้ก็มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ซึ่งสามารถแบ่งเป็นยุคต่างๆ ดังนี้

ประวัติสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศพอสังเขป   

ยุคหอสมุดวิทยาลัยครูจันทรเกษม

ในอดีตโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม หรือวิทยาลัยครูจันทรเกษม มีหอสมุดตั้งอยู่ที่อาคาร 1 ชั้นล่าง ขนาด 1 ห้อง โดยมีอาจารย์ไข่มุก
มิลินทเลข เป็นบรรณารักษ์ และมีผู้ช่วยบรรณารักษ์ 1 คนเมื่อ พ.ศ.2511 มีผู้ใช้บริการห้องสมุดจำนวนมากจึงย้ายห้องสมุดไปบริเวณชั้นล่างของอาคาร 2 (อาคารศึกษาศาสตร์ปัจจุบัน) ซึ่งมีเนื้อที่กว้างขวางสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้มากขึ้น ทั้งนี้มีหมวดสังคมศึกษา หมวดการศึกษาและห้องทะเบียนรวมอยู่อาคารเดียวกัน

อาคาร 1
อาคาร 2
ยุคหอสมุดมานิจชุมฉาย

ศูนย์คอมพิวเตอร์และแผนกหอสมุดได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องคู่ขนานกันไปดังนี้

แผนกห้องสมุด
      ปี พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณจากกรมฝึกหัดครู สร้างอาคารหอสมุดเป็นอาคารเอกเทศ 2 ชั้นพื้นที่ใช้สอย 1,162 ตารางเมตรมีที่นั่งอ่านหนังสือประมาณ 300 ที่นั่ง และเปิดให้บริการ แก่นักศึกษา ครู อาจารย์ โดยมีอาจารย์ บรรณารักษ์บริหารงานรวม 7 คน

      ปี พ.ศ. 2519 กระทรวงศึกษาธิการออกประกาศ เล่มที่ 93 ตอนที่ 82 ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2519 เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัยครูจันทรเกษมกรุงเทพมหานคร ให้แผนกหอสมุด สังกัดในสำนักงานอธิการบดีในขณะนั้นมีอาจารย์วนา ชีเพ็งพันธ์ เป็นหัวหน้าแผนกหอสมุด

      ปี พ.ศ. 2525 มีการตั้งชื่ออาคารหอสมุดว่าหอสมุดมานิจชุมสาย โดยถือเอานามของ ม.ล. มานิจ ชุมสาย ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมซึ่งขณะนั้นมีผู้ช่วยศาสตราจารย์กุลรัศม์ภูมิมาศ เป็นหัวหน้าแผนกหอสมุด

      ปี พ.ศ. 2530 กระทรวงศึกษาธิการ ออกประกาศ เล่มที่ 104 ตอนที่ 73 ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 17 เมษายน 2530 เรื่องการแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัยครูจันทรเกษมกรุงเทพมหานคร โดยการปรับเปลี่ยนให้ แผนก “หอสมุด” เป็น “ฝ่ายหอสมุด” สังกัดสำนักส่งเสริมวิชาการมีอาจารย์สุชีลา เตชาภิวัฒน์พันธ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายหอสมุด

ศูนย์คอมพิวเตอร์
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้เริ่มก่อตั้ง เมื่อปี พ.ศ.2524 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการงานทะเบียนและวัดผลในขณะนั้นมีอาจารย์วันชัยนิลกำแหง เป็นหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์คนแรกและได้เริ่มเปิดอบรมแก่บุคคลภายนอกในการใช้คอมพิวเตอร์และเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก และโปรแกรมดีเบส2 โดยใช้เครื่อง APPLE

      พ.ศ. 2525 วิทยาลัยครูจันทรเกษมในขณะนั้นได้รับงบประมาณให้จัดซื้อระบบงานทะเบียนและวัดผลเป็นเงิน 300,000 บาท และได้พัฒนาระบบงานทะเบียน โดยใช้โปรแกรมภาษาเบสิกบนเครื่องพีซี

      พ.ศ. 2526 บริษัท ไอบีเอ็ม ร่วมกับมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลูประเทศคานาดาได้บริจาคระบบเครือข่าย LAN ขนาดเล็ก 1 ระบบ เพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัย และกรรมการฝึกหัดครูและในปีเดียวกันนั้นวิทยาลัยได้ตั้งภาควิชาคอมพิวเตอร์เพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงโดยมี อาจารย์วันชัย นิลกำแหงเป็นหัวหน้าภาควิชาคอมพิวเตอร์อีกตำแหน่งหนึ่งภาควิชาคอมพิวเตอร์จึงทำหน้าที่เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ อีกภาระงานหนึ่งตั้งแต่พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา

      พ.ศ. 2532 ฝ่ายทะเบียนและวัดผลในขณะนั้นได้พัฒนาระบบงานทะเบียนและประมวลผลขึ้นใหม่บนเครือข่ายโดยใช้มาตรฐานEthernet แบบบัสภายในอาคาร 4 และระบบ Arcnetระหว่างอาคารเป็นการแยกงานทะเบียนและวัดผลออกมาจากศูนย์คอมพิวเตอร์แต่บริการด้านงานทะเบียนเพียงอย่างเดียวภาคคอมพิวเตอร์ได้จัดการเรียนการสอนในหลายระดับและหลายหมู่เรียนทำให้มีภารกิจมากบทบาทในการบริการคอมพิวเตอร์แก่หน่วยงานต่าง ๆจึงลดลงและในที่สุดได้ยุติบทบาทของศูนย์คอมพิวเตอร์ลง

      พ.ศ. 2538 อาจารย์อดุลย์วงศ์แก้วได้ขอเชื่อมต่อบริการอินเตอร์เน็ตกับเครือข่ายไทยสารที่ความเร็ว 19.2 Kbps โดยใช้สายสื่อสารจากบริษัท Data net

      พ.ศ. 2539 สถาบันได้อนุมัติงบประมาณให้เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไทยสารที่ความเร็ว64 Kbpsและได้รับงบประมาณแผ่นดินให้จัดซื้อคอมพิวเตอร์แม่ข่าย 1 เครื่อง และลูกข่าย 1 เครื่องและได้ปรับปรุงห้อง 432 เป็นห้องบริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อเปิดบริการแก่อาจารย์เจ้าหน้าที่และนักศึกษา

      พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณแผ่นดินให้จัดซื้อแม่ข่ายระบบยูนิกซ์ 1 ชุดและคอมพิวเตอร์ลูกข่ายอีก 40 เครื่องและเปิดบริการที่ห้อง 433 โดยให้บริการแก่อาจารย์เจ้าหน้าที่นักศึกษาและบริการหน่วยงานภายนอกที่ร้องขอ โดยอยู่ในความดูแลของ ผศ. คำเพชร ภูริปริญญา รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีและพัฒนาระบบสารสนเทศ

งานเทคโนโลยีการศึกษา
ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษามีชื่อเดิม คือแผนกโสตทัศนูปกรรณ์ เป็นหน่วยงานกลางของสถาบัน ทำหน้าที่บริการด้านการเรียนการสอนอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ตั้งอยู่ที่ อาคาร 2 ชั้น 3 คณะครุศาสตร์ ต่อมาสภาสถาบันราชภัฏมีมติให้รวมหน่วยงานบริการวิชาการที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกในการบริหารจัดการองค์กร การจัดสรรงบประมาณหน่วยงานดังกล่าวได้แก่ แผนกโสตทัศนูปกรณ์ และแผนกห้องสมุด โดยจัดตั้งเป็นหอสมุดมานิจ ชุมสาย

ยุคสำนักวิทยบริการ

สำนักวิทยบริการ
      ปี พ.ศ. 2541 ฝ่ายหอสมุดได้รับจัดสรรงบประมาณพร้อมรูปแบบอาคารจากสภาสถาบันราชภัฏเป็นอาคาร 8 ชั้นมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 4,800 ตารางเมตร ขณะนั้นมีนายสัตวแพทย์ปัญญา สระดอกบัว เป็นหัวหน้าฝ่ายหอสมุด

      ปี พ.ศ. 2542 ฝ่ายหอสมุด เปลี่ยนสถานะเป็น “สำนักวิทยบริการ” และย้ายมาใช้พื้นที่บริการที่อาคาร 8 ชั้น นายสัตวแพทย์ปัญญา สระดอกบัวจึงเป็นผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการคนแรก

      ปี พ.ศ. 2544 ขณะที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร ปาจรีย์รัตน์ เป็นผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏได้จัดสรรงบประมาณรายได้ วงเงิน 7,575,588 บาท เป็น ค่าปรับแต่งภายในอาคารห้องสมุดให้มีสภาพสอดคล้องกับการใช้งาน ทันสมัย ทั้งนี้มีการดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน คือ จัดจ้างออกแบบ และจัดจ้างปรับปรุงตกแต่งในช่วงระหว่างการปรับตกแต่งภายในอาคารต้องย้ายส่วนทำงานทั้งหมดกับส่วนบริการบางส่วนกลับมาที่อาคารมานิจ ชุมสาย ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 การปรับตกแต่งภายในอาคารแล้วเสร็จก็ย้ายทั้งหมดกลับมาที่ อาคาร 8 ชั้น ดังเดิม

ศูนย์คอมพิวเตอร์
ในปีเดียวกันนี้คือ พ.ศ. 2542 สถาบันแต่งตั้ง อาจารย์อำนาจสวัสดิ์นะทีให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์ร่างหลักสูตร IT01 - IT06 พร้อมทั้งเอกสารประกอบเพื่อใช้ฝึกอบรมทักษะคอมพิวเตอร์ให้แก่นักศึกษาของสถาบันทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลามีนักศึกษาเข้าอบรมจำนวน 579 คนจัดหาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จำนวน 35 เครื่อง สถาบันได้ยกเลิกการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไทยสารและเชื่อมต่อกับบริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทยที่ความเร็ว 256 Kbps เมื่อ 9 มีนาคม 2542 สถาบันเปิดให้บริการระบบcDial - up Networking เป็นครั้งแรกซึ่งเป็นระบบที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้จากภายนอกสถาบันโดยมีหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้บริการจำนวน 95 หมายเลข เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2542 โดยในระยะแรกเปิดให้บริการเฉพาะบุคลากรของสถาบันเท่านั้น

      พ.ศ. 2543 สถาบันแต่งตั้งให้ น.สพ.ปัญญาสระดอกบัว รักษาการแทนตำแหน่งหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์แทนอาจารย์อำนาจสวัสดิ์นะทีที่หมดวาระในวันที่ 6 กรกฎาคม 2543 และมีการดำเนินการเช่าคู่สาย (Lease line) โดยเพิ่มความเร็วสูง Frame Relay 512 Kbps. พร้อมทั้งดำเนินการจัดโครงการฝึกอบรมทักษะคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาอย่างต่อเนื่องตามหลักสูตร IT01 – IT06 ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2543 สถาบันมีคำสั่งแต่งตั้ง อาจารย์เฉลิมศรีสวรรค์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาระบบเครือข่ายความเร็วสูง (ครั้งแรก) ในการทำเป็นแบ็คโบน (Backbone)แกนหลักจำนวน 4 Core เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัทอินเตอร์เน็ต ประเทศไทย จาก 256 Kbps. เป็น 512 Kbps. เพื่อเชื่อมต่ออาคารต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย และได้จัดทำคำของบประมาณโครงการจากเงินค่าบำรุงการศึกษาจำนวน 17 ล้านบาท จึงได้ดำเนินการติดตั้งจนแล้วเสร็จ ทั้งยังได้ปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์โดยย้ายจากอาคาร 4 (อาคารอธิการบดีเดิม) ไปหอสมุดมานิจชุมสาย เพื่อติดตั้งระบบไฟฟ้าสำหรับคอมพิวเตอร์ 330 จุด และเฉลี่ยโหลด 3 เฟสเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 สถาบันมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานศูนย์คอมพิวเตอร์ชุดใหม่โดยมีอาจารย์เฉลิมศรีสวรรค์เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงานมีหน้าที่ หลักในการบริหารงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในด้านสนับสนุนการเรียนการสอน การฝึกอบรมการพัฒนาระบบเครือข่ายและงานอื่น ๆ ที่สถาบันมอบหมาย

      พ.ศ. 2544 สถาบันฯ ได้เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทยจำกัด (มหาชน)จาก 512 Kbps. เป็น 1 Mbps. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ในส่วนงานศูนย์คอมพิวเตอร์ ได้ดำเนินการจัดหาคอมพิวเตอร์และครุภัณฑ์ พร้อมติดตั้ง โดยจัดทำโครงการเช่าคอมพิวเตอร์ 300 เครื่อง ในระยะเวลา 3 ปี แต่โครงการนี้ไม่สามารถดำเนินการได้

      พ.ศ. 2545 สถาบันได้เชื่อมต่อ กับเครือข่ายพัฒนาการศึกษาทบวงมหาวิทยาลัย (UniNet) ที่ความเร็ว 256 Kbps. เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2545 และในเดือนสิงหาคม 2545 สถาบันได้ขยายการเชื่อมต่อกับUniNetไปต่างประเทศที่ความเร็ว 1,024 Kbps. และเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 สถาบันได้ขยายการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัท อินเตอร์เน็ต ประเทศไทยจำกัด (มหาชน) ที่ความเร็ว 1.5 Mbps. ทำให้สถาบันมีเส้นทางเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต 2 เส้นทาง

งานเทคโนโลยีการศึกษา
ในครั้งที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร ปาจรีย์รัตน์ เป็นผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ ได้มีการโอนงานโสตทัศนูปกรณ์ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสำนักวิทยบริการ โดยมีนายสัมพันธ์ รุ่งฤทธิ์ เป็นหัวหน้าฝ่าย

ยุคสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

งานวิทยบริการ
      ปี พ.ศ. 2541 ฝ่ายหอสมุดได้รับจัดสรรงบประมาณพร้อมรูปแบบอาคารจากสภาสถาบันราชภัฏเป็นอาคาร 8 ชั้นมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 4,800 ตารางเมตร ขณะนั้นมีนายสัตวแพทย์ปัญญา สระดอกบัว เป็นหัวหน้าฝ่ายหอสมุด

      ปี พ.ศ. 2542 ฝ่ายหอสมุด เปลี่ยนสถานะเป็น “สำนักวิทยบริการ” และย้ายมาใช้พื้นที่บริการที่อาคาร 8 ชั้น นายสัตวแพทย์ปัญญา สระดอกบัวจึงเป็นผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการคนแรก

      ปี พ.ศ. 2544 ขณะที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร ปาจรีย์รัตน์ เป็นผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏได้จัดสรรงบประมาณรายได้ วงเงิน 7,575,588 บาท เป็น ค่าปรับแต่งภายในอาคารห้องสมุดให้มีสภาพสอดคล้องกับการใช้งาน ทันสมัย ทั้งนี้มีการดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน คือ จัดจ้างออกแบบ และจัดจ้างปรับปรุงตกแต่งในช่วงระหว่างการปรับตกแต่งภายในอาคารต้องย้ายส่วนทำงานทั้งหมดกับส่วนบริการบางส่วนกลับมาที่อาคารมานิจ ชุมสาย ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 การปรับตกแต่งภายในอาคารแล้วเสร็จก็ย้ายทั้งหมดกลับมาที่ อาคาร 8 ชั้น ดังเดิม

      ปี พ.ศ. 2560 สำนักวิทยบริการฯได้รับงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 1,361,840 บาท เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมห้องอาเซียนศึกษา กล่าวคือมีการปรับปรุงซ่อมแซมภายในห้อง เพิ่มไฟส่องสว่าง และซ่อมแซมสื่อจัดแสดงต่างๆ เช่น ผนัง Asean big wall ซ่อมเกมจับคู่ ซ่อมเสาอาเซียน ซ่อมสติ๊กเกอร์พื้น รวมถึงจัดซื้อภาพอัดกรอบ ชั้นวางหนังสือ ป้ายห้องอะคริลิก สติ๊กเกอร์ PVC และชุดนิทรรศการเคลื่อนที่ กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม



      ปี พ.ศ. 2561 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เปลี่ยนระบบห้องสมุดจากเดิมได้ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดร่วมกับแถบแม่เหล็กในการยืม/คืนทรัพยากรสารสนเทศ การป้องกันการโจรกรรมทรัพยากร การตรวจสอบสถานะของทรัพยากรทั้งหมด มาเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุแบบ RFID มาใช้เพื่อความรวดเร็วในการให้บริการ เพื่อให้ห้องสมุดมีความทันสมัยมากขึ้น โดยสำนักวิทยบริการฯได้รับงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 3,700,000 บาท เพื่อจัดหาชุดครุภัณฑ์ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ RFID ประกอบด้วย เครื่องยืมคืนอัตโนมัติ, อุปกรณ์ยืมคืนอัตโนมัติ, อุปกรณ์ลงรหัสข้อมูลประตูป้องกันทรัพยากรห้องสมุดสูญหายด้วยเทคโนโลยีคลื่นวิทยุ, เครื่องคืนหนังสืออัตโนมัติ, ประตูควบคุมบุคคลเข้า/ออก, เครื่องแม่ข่ายสำหรับระบบ RFID, ซอฟต์แวร์เชื่อมต่อระบบห้องสมุด ซึ่งติดตั้งแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2561



ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ประกาศนโยบายห้องสมุดสีเขียว (GREEN ARIT) โดยมีกิจกรรมสนับสนุน เช่น กิจกรรม Bag Service กระเป๋าให้ยืม การรณรงค์ลดการใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน เป็นต้น



งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปีเดียวกันนี้คือ พ.ศ. 2542 สถาบันแต่งตั้ง อาจารย์อำนาจสวัสดิ์นะทีให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์ร่างหลักสูตร IT01 - IT06 พร้อมทั้งเอกสารประกอบเพื่อใช้ฝึกอบรมทักษะคอมพิวเตอร์ให้แก่นักศึกษาของสถาบันทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลามีนักศึกษาเข้าอบรมจำนวน 579 คนจัดหาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จำนวน 35 เครื่อง สถาบันได้ยกเลิกการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไทยสารและเชื่อมต่อกับบริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทยที่ความเร็ว 256 Kbps เมื่อ 9 มีนาคม 2542 สถาบันเปิดให้บริการระบบcDial - up Networking เป็นครั้งแรกซึ่งเป็นระบบที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้จากภายนอกสถาบันโดยมีหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้บริการจำนวน 95 หมายเลข เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2542 โดยในระยะแรกเปิดให้บริการเฉพาะบุคลากรของสถาบันเท่านั้น

      พ.ศ. 2543 สถาบันแต่งตั้งให้ น.สพ.ปัญญาสระดอกบัว รักษาการแทนตำแหน่งหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์แทนอาจารย์อำนาจสวัสดิ์นะทีที่หมดวาระในวันที่ 6 กรกฎาคม 2543 และมีการดำเนินการเช่าคู่สาย (Lease line) โดยเพิ่มความเร็วสูง Frame Relay 512 Kbps. พร้อมทั้งดำเนินการจัดโครงการฝึกอบรมทักษะคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาอย่างต่อเนื่องตามหลักสูตร IT01 – IT06 ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2543 สถาบันมีคำสั่งแต่งตั้ง อาจารย์เฉลิมศรีสวรรค์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาระบบเครือข่ายความเร็วสูง (ครั้งแรก) ในการทำเป็นแบ็คโบน (Backbone)แกนหลักจำนวน 4 Core เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัทอินเตอร์เน็ต ประเทศไทย จาก 256 Kbps. เป็น 512 Kbps. เพื่อเชื่อมต่ออาคารต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย และได้จัดทำคำของบประมาณโครงการจากเงินค่าบำรุงการศึกษาจำนวน 17 ล้านบาท จึงได้ดำเนินการติดตั้งจนแล้วเสร็จ ทั้งยังได้ปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์โดยย้ายจากอาคาร 4 (อาคารอธิการบดีเดิม) ไปหอสมุดมานิจชุมสาย เพื่อติดตั้งระบบไฟฟ้าสำหรับคอมพิวเตอร์ 330 จุด และเฉลี่ยโหลด 3 เฟสเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 สถาบันมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานศูนย์คอมพิวเตอร์ชุดใหม่โดยมีอาจารย์เฉลิมศรีสวรรค์เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงานมีหน้าที่ หลักในการบริหารงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในด้านสนับสนุนการเรียนการสอน การฝึกอบรมการพัฒนาระบบเครือข่ายและงานอื่น ๆ ที่สถาบันมอบหมาย

      พ.ศ. 2544 สถาบันฯ ได้เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทยจำกัด (มหาชน)จาก 512 Kbps. เป็น 1 Mbps. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ในส่วนงานศูนย์คอมพิวเตอร์ ได้ดำเนินการจัดหาคอมพิวเตอร์และครุภัณฑ์ พร้อมติดตั้ง โดยจัดทำโครงการเช่าคอมพิวเตอร์ 300 เครื่อง ในระยะเวลา 3 ปี แต่โครงการนี้ไม่สามารถดำเนินการได้

      พ.ศ. 2545 สถาบันได้เชื่อมต่อ กับเครือข่ายพัฒนาการศึกษาทบวงมหาวิทยาลัย (UniNet) ที่ความเร็ว 256 Kbps. เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2545 และในเดือนสิงหาคม 2545 สถาบันได้ขยายการเชื่อมต่อกับUniNetไปต่างประเทศที่ความเร็ว 1,024 Kbps. และเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 สถาบันได้ขยายการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัท อินเตอร์เน็ต ประเทศไทยจำกัด (มหาชน) ที่ความเร็ว 1.5 Mbps. ทำให้สถาบันมีเส้นทางเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต 2 เส้นทาง

      พ.ศ. 2560 พัฒนาระบบส่งแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี ด้วยระบบออนไลน์ e-budgeting จ้างปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางภาษา 4 ห้อง พัฒนาสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน 90 ตอน ปรับปรุงเพิ่มจำนวนเครื่องอีก จำนวน 100 เครื่อง

งานเทคโนโลยีการศึกษา
      ปี พ.ศ. 2556 ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษาขึ้นตรงกับผู้อำนวยการสำนักฯ และมีการแบ่งส่วนงานเป็น 3 ส่วน ดังนี้
       - งานบริการห้องเรียนรวม
       - งานระบบเคเบิ้ลทีวี/โทรทัศน์
       - งานเครื่องเสียงและห้องประชุม

      ปี พ.ศ. 2557 มีการเปลี่ยนพัฒนาระบบจากจอแก้วเป็นระบบ LED จำนวน 15 จุดบริการ